Thai Musical Menu
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
เครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค
1. ภาคกลาง
ซอสามสาย
ซอสามสาย เป็นซอ ที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ใน วงดนตรีไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. ๑๓๕๐) แล้ว ซอสามสายขึ้นเสียง ระหว่างสายเป็นคู่สี่ใช้บรรเลงในพระราชพิธี อันเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์ ภายหลังจึง บรรเลงประสมเป็นวงมโหรี
ซอด้วง
ซอด้วง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่อง เสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อ แข็ง ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลูกบิดขึ้นสาย อยู่ตอนบน ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสาย เอ็น มี ๒ สาย ขนาดต่างกัน คันชักอยู่ระหว่าง สาย ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ซอด้วงมีเสียงแหลม ใช้ เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย
ซออู้
ซออู้ เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียงอยู่ด้านตรง ข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมี ลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซอทำด้วยไหมฟั่น มีคันชักอยู่ระหว่างสาย ความยาวของคันซอ ประมาณ ๖๐ เซนติเมตร คันชักประมาณ ๕๐ เซนติมตร ซอ อู้มีเสียงทุ้มต่ำ บรรเลงคู่และสอดสลับกับ ซอด้วงในวงเครื่องสาย
จะเข้
จะเข้ เป็นเครื่องสาย ที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความ สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร และยาว ๑๔๐ เซนติเมตร ตัว จะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรง มีสาย ๓ สาย สายที่ ๑-๒ ทำด้วยไหมฟั่น สาย ที่ ๓ ทำด้วยทองเหลือง วิธีการบรรเลงมือซ้าย จะทำหน้าที่กดสายให้เกิดเสียงสูง- ต่ำ ส่วนมือขวาจะดีดที่สายด้วยวัตถุที่ ทำจากงาสัตว์
ขลุ่ย
ขลุ่ย ของไทยเป็นขลุ่ย ในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือ มีที่บังคับแบ่งกระแส ลม ทำให้เกิดเสียงในตัวไม่ใช่ขลุ่ยผิว ตระกูลฟลุตแบบจีน ขลุ่ยไทยมีหลายขนาด ได้แก่ ขลุ่ยอู้ มีเสียงต่ำที่สุด ระดับกลาง คือ ขลุ่ย เพียงออ เสียงสูง ได้แก่ ขลุ่ยหลีบ และยังที่มี เสียงสูงกว่านี้คือ ขลุ่ยกรวดหรือขลุ่ยหลีบกรวด อีกด้วย ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและ วงมโหรี
ปี่
ปี่ เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้น ทำด้วยใบตาล เป็นเครื่องกำเนิดเสียง เป็นประเภทลิ้นคู่ (หรือ ๔ ลิ้น) เช่นเดียวกับโอโบ ( Oboe) มีหลายชนิดคือ ปี่นอก ปี่ใน ปี่ กลาง ปี่มอญ ปี่ไทยที่เด่นที่สุด คือ ปี่ ในตระกูลปี่ใน ซึ่งมีรูปิดเปิดบังคับลม เพียง ๖ รู แต่สามารถบรรเลงได้ถึง ๒๒ เสียง และ สามารถเป่าเลียนเสียงคนพูดได้ชัดเจน
ระนาดเอก
ระนาดเอก เป็นระนาดเสียงแหลมสูง ประกอบ ด้วยลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ไผ่บงหรือไม้ เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ๒๑-๒๒ ลูก ร้อยเข้า ด้วยกันเป็นผืนระนาด และแขวนหัวท้ายทั้ง ๒ ไว้บนกล่องเสียงที่เรียกว่า รางระนาด ซึ่งมี รูปร่างคล้ายเรือ ระนาดเอกทำหน้าที่นำวง ดนตรีด้วยเทคนิคการบรรเลงที่ประณีตพิศดาร มักบรรเลง ๒ แบบ คือ ตีด้วยไม้แข็ง เรียกว่า ปี่พาทย์ ไม้แข็ง และตีด้วยไม้นวม เรียกปี่พาทย์
ไม้นวม ระนาดเอกเรียงเสียงต่ำไปหาสูงจาก ซ้ายไปขวา และเทียบเสียงโดยวิธีใช้ชันโรงผสม ผงตะกั่วติดไว้ด้านล่างทั้งหัวและท้ายของ ลูกระนาด
ระนาดทุ้ม
ระนาดทุ้ม ทำด้วยไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็งมีผืนละ ๑๘ ลูก มีรูป ร่างคล้ายระนาดเอกแต่เตี้ยกว่าและกว้างกว่าเล็ก น้อย ระนาดทุ้มใช้บรรเลงหยอกล้อกับระนาดเอก
ฆ้องวงใหญ่
ฆ้องวงใหญ่ เป็นหลักของวงปี่ พาทย์ และวงมโหรีใช้บรรเลงทำนองหลัก มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน คือ
ลูก ฆ้อง : เป็นส่วนกำเนิดเสียงทำด้วยโลหะผสม มี ลักษณะคล้ายถ้วยกลม ๆ ใหญ่เล็กเรียงตามลำดับเสียง ต่ำสูง ด้านบนมีตุ่มนูนขึ้นมาใช้สำหรับ ตีและใต้ตุ่มอุดไว้ด้วยตะกั่วผสมชันโรง เพื่อ ถ่วงเสียงให้สูงต่ำตามต้องการ
เรือนฆ้อง : ทำด้วยหวายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว เศษ ขดเป็นวง และยึดไว้ด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงเป็นลวดลายคล้ายลูกกรง และมีไม้ไผ่ เหลาเป็นซี่ ๆ ค้ำยันให้ฆ้องคงตัวเป็น โครงสร้างอยู่ได้ การผูกลูกฆ้องแขวนเข้ากับ เรือนฆ้อง ผูกด้วยเชือกหนังโดยใช้เงื่อน
ฆ้องวงเล็ก
ฆ้องวงเล็ก มีขนาดเล็กกว่า แต่ เสียงสูงกว่าฆ้องวงใหญ่มีวิธีตีเช่นเดียว กับฆ้องวงใหญ่ แต่ดำเนินทำนองเป็นทางเก็บหรือ ทางอื่นแล้วแต่กรณี บรรเลงทำนองแปรจากฆ้องวง ใหญ่ ฆ้องวงเล็กมี ๑๘ ลูก
โทนรำมะนา
โทน : รูปร่างคล้ายกลองยาวขนาดเล็ก ทำด้วยไม้ หรือดินเผา ขึงด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือก หนัง ตัวกลองยาวประมาณ ๓๔ เซนติเมตร ตรงกลางคอด ด้านตรงข้ามหน้ากลองคล้ายทรงกระบอกปากบานแบบ ลำโพง ตรงเอวคอดประมาณ ๑๒ เซนติเมตร ใช้ตีคู่ กับรำมะนา
รำมะนา : เป็นกลองทำด้วยไม้ขึง หนังหน้าเดียวมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๒ เซนติเมตร ใช้ในวงเครื่องสาย
กลองแขก
กลองแขก เป็น กลองที่ตีหน้าทับได้ทั้งในวงปี่พาทย์ มโหรีและบางกรณีวงเครื่องสายก็ได้ ตีด้วย มือทั้ง ๒ หน้า คู่หนึ่งประกอบด้วยตัวผู้ ( เสียงสูง) และตัวเมีย (เสียงสูง)
กลองสองหน้า
กลองสองหน้า เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลองลูกหนึ่งในเปิงมางคอกขึง ด้วยหนังเลียดรอบตัว ใช้ในวงปี่พาทย์ หรือมโหรีบางกรณี
2. ภาคเหนือ
สะล้อ
สะล้อหรือ ทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงทำ ด้วยกะลามะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บาง ๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อทำด้วย ไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ โดยปกติจะ ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยม ทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็ มีสาย ทำด้วยลวด (เดิมใช้สายไหมฟั่น ) สะล้อมี ๓ ขนาด คือ สะล้อเล็ก สะล้อกลาง และสะล้อใหญ่ ๓ สาย
ซึง
ซึง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่งใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง มีช่องเสียงอยู่ ด้านหน้า กำหนดระดับเสียงด้วยนมเป็นระยะ ๆ ดีด ด้วยเขาสัตว์บาง ๆ มีสายทำด้วยโลหะ เช่น ลวด หรือทองเหลือง (เดิมใช้สายไหมฟั่น) ๒ สาย
ปี่
ปี่ เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง ที่ ปลายข้างหนึ่งฝังลิ้นโลหะไว้เวลาเป่าใช้ปากอม ลิ้นที่ปลายข้างนี้ อีกด้านหนึ่งเจาะรู บังคับเสียงเรียงกัน ๖ รู ใช้ปิดเปิดด้วยนิ้ว มือทั้ง ๒ นิ้ว เพื่อให้เกิดทำนองเพลง มี ๓ ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่เรียก ปี่แม่ ขนาดรองลง มาเรียก ปี่กลาง และขนาดเล็กเรียก ปี่ก้อย นิยม บรรเลงประสมเป็นวงเรียก วงจุมปี่ หรือปี่จุม หรือบรรเลงร่วมกับซึงและสะ
แน
ปี่ แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ทำด้วยไม้ เนื้อแข็ง มีรูบังคับเสียง เช่นเดียวกับปี่ใน นิยมบรรเลงในวงประกอบกับฆ้อง กลอง ตะหลดปด และกลองแอว เช่น ในเวลาประกอบการฟ้อน เป็นต้น มี ๒ ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็กเรียก แนน้อย ขนาดใหญ่ เรียก แนหลวง
พิณเปี๊ยะ
พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว เวลาดีดเอา กะโหลกประกบติดไว้กับหน้าอก ขยับเปิด-ปิด เพื่อให้เกิดเสียงกังวานตามต้องการ สมัยก่อนหนุ่มชาว เหนือนิยมเล่นดีดคลอการขับร้องในขณะไป เกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในยามค่ำคืน ปัจจุบันมี ผู้เล่นได้น้อยมาก
กลองเต่งถิ้ง
กลองเต่งถิ้ง เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน เช่น ไม้ขนุน หน้ากลองขึงด้วยหนังวัว มี ขาสำหรับใช้วางตัวกลอง ใช้ประสมกับเครื่องดนตรี อื่น ๆ เพื่อเป็นเครื่องประกอบจังหวะ
ตะหลดปด
ตะหลดปด หรือมะหลดปด เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร หน้ากลองขึงด้วยหนัง โยงเร่งเสียงด้วยเชือกหนัง หน้าด้านกว้างขนาด ๓๐ เซนติเมตร ด้านแคบขนาด ๒๐ เซนติเมตร หุ่นกลองทำ ด้วยไม้เนื้อแข็งหรือเนื้ออ่อน ตีด้วยไม้หุ้มนวม มีขี้จ่า (ข้าวสุกบดผสมขี้เถ้า) ถ่วงหน้า
กลองติ้งโนง
กลองตึ่งโนง เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด ๓-๔ เมตรก็มี ใช้ตีเป็น อาณัติสัญญาณประจำวัด และใช้ในกระบวนแห่กระบวนฟ้อน ต่าง ๆ ประกอบกับตะหลดปด ปี่แน ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย ใช้ตีด้วยไม้ เวลาเข้ากระบวน จะมีคนหาม
กลองสะบัดชัย
กลองสะบัดชัยโบราณ เป็นกลองที่ มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี ๓ ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร
3. ภาคอีสาน
หืน
หืน เป็นเครื่องดนตรีกึ่งดีดกึ่งเป่าอย่างหนึ่งมี ทั้งที่ทำด้วยไม้ไผ่และโลหะเซาะร่องตรง กลางเป็นลิ้นในตัว เวลาเล่นประกบหืนเข้ากับ ปาก ดีดที่ปลายข้างหนึ่งด้วยนิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วชี้ อาศัยกระพุ้งปากเป็นกล่องเสียง ทำให้ เกิดเสียงสูงต่ำตามขนาดของกระพุ้งปากที่ทำ สามารถดีดเป็นเสียงแท้คล้ายเสียงคนออกเสียงสระ เครื่องดนตรีนี้มีเล่นกันในพวกชนเผ่ามูเซอ เรียกชื่อว่า เปี๊ยะ
เครื่องดนตรีชนิดนี้มิ ได้มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่มีใน ทุกส่วนของโลก เช่น แถบมองโกเลีย ปาปัว นิวกินี อัฟริกา และยุโรป นับเป็น เครื่องดนตรีโบราณชิ้นหนึ่งที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง
แคน
แคน เป็น เครื่องดนตรีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของ ชาวภาคอีสานเหนือ และอีสานภาคกลางไม่รวมอีสาน ใต้ที่มีอิทธิพลเขมร ได้แก่ "แคน" แคนเป็นเครื่องดนตรีสมบูรณ์แบบที่สุด ที่มีประวัติ ความเป็นมาย้อนหลังไปหลายพันปี แคนทำ ด้วยไม้ซาง มีลิ้นโลหะ เช่นดีบุก เงิน หรือทองแดง บางๆ ประกอบไว้ในส่วนที่ประกอบอยู่ในเต้าแคน แคนมีหลายขนาด เช่น แคน ๗ แคน ๙ ข้าง ๆ เต้าแคน ด้านบนมีรูปิดเปิดบังคับเสียง เวลา เป่า เป่า ที่เต้าแคนด้านหน้า ใช้มือทั้งสอง ประกอบจับเต้าแคนในลักษณะเฉียงเล็กน้อย แคนเป็น เครื่องดนตรีที่บรรเลงได้ทั้งทำนองเพลงประสานเสียง และให้จังหวะในตัวเอง จึงมีลีลาการบรรเลง ที่วิจิตรพิสดารมาก
ระบบเสียงของแคน เป็นทั้งระบบ ไดอะโทนิค และเพนตะโทนิค มีขั้น คู่เสียงที่เล่นได้ทั้งแบบตะวันตกและแบบ ไทยรวมทั้งคู่เสียงระดับเดียวกันอีกด้วย
โหวต
โหวด เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เป่าผ่านไม้รวกหรือไม้ เฮี้ย (ไม้กู่แคน) หรือไม้ไผ่ ด้านรู เปิดของตัวโหวดทำด้วยไม้รวกขนาดเล็ก สั้น ยาว (เรียงลำดับตามความสูงต่ำของเสียง) ติด อยู่รอบกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นแกนกลาง ติดไว้ด้วยขี้สูด มีจำนวน ๖-๙ เลา ความ ยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร เวลาเป่าจะหมุนไปรอบๆ ตามเสียงที่ต้องการ
พิณ
เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงด้วยการดีด มี ๒-๓ สาย แต่ขึ้นเป็นสองคู่ โดยขึ้นคู่ ๕ ดีดเป็นทำนองเพลง ตัว พิณและคันทวนนิยมแกะด้วยไม้ชิ้นเดียวกัน มีนมสำหรับตั้งเสียง สายพิณนิยมทำด้วยโลหะ โดยเฉพาะสายลวดเบรคจักรยาน ที่ดีดนิยมทำด้วยขาสัตว์แบนๆ เหลาให้บางพอที่จะดีด สะบัดได้
โปงลาง
โปงลางเป็นเครื่องดนตรีประเภทที่บรรเลง ทำนองด้วยการตีเพียงชนิดเดียวของภาคอีสาน โดย บรรเลงร่วมกันกับแคน พิณและเครื่องประกอบจังหวะ หรือ บรรเลงเดี่ยว ตังโปงลางทำด้วยท่อนไม้แข็งขนาดต่างๆ กันเรียงตามลำดับเสียงร้อยด้วยเชือกเป็นลูกระนาด ปลายข้างเสียงสูงผูกแขวนไว้กับกิ่งไม้ และ ข้างเสียงต่ำปล่อยทอดเยื้องลงมาคล้องไว้กับ หัวแม่เท้าของผู้บรรเลง หรือคล้องกับวัสดุ ปกติ ผู้เล่นโปงลางรางหนึ่งมี ๒ คน คือ คนบรรเลง ทำนองเพลงกับคนบรรเลงเสียงกระทบแบบคู่ประสาน ไม้ ที่ตีโปงลางทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นรูปคล้าย ค้อนตีด้วยมือสองข้าง ข้างละอัน ขนาดของโปงลางไม่มีมาตรฐานแน่นอน
จะเข้กระบือ
เป็นเครื่องดนตรีสำคัญชิ้นหนึ่งในวงมโหรีเขมร เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดในแนวนอน มี ๓ สาย สมัยก่อนสายทำจากเส้นไหมฟั่น ปัจจุบันทำจาก สายเบรคจักรยาน การบรรเลงจะใช้มือซ้ายกด สายบนเสียงที่ต้องการ ส่วนมือขวาใช้สำหรับดีด
กระจับปี่
เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด โดยใช้กระที่ทำจากเขาสัตว์ กล่องเสียงทำ ด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก ส่วนปลายสุดมีรู ๒ รู ใช้ใส่ลูกบิดและร้อยสาย เมื่อบรรเลง จะตั้งขนานกับลำตัว มือขวาจับกระสำหรับดีด มือซ้ายกดที่สายเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง
ซอกันตรึม
เป็นเครื่องสายใช้สี ทำ ด้วยไม้ กล่องเสียงขึงด้วยหนังงู มีช่องเสียง อยู่ด้านตรงข้ามหน้าซอ ใช้สายลวดมี ๒ สาย คันชักอยู่ระหว่างสาย คันซอยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลูกบิดอยู่ตอนนอกซอใช้รัด ด้วยเชือก ขนาดของซอแตกต่างกันไปตามความ ประสงค์ของผู้สร้าง โดยทั่วไปมี ๓ ขนาด คือ ขนาดเล็กเรียก ตรัวจี้ ขนาดกลางเรียกตรัวเอก ขนาดใหญ่เรียก
กลองกันตรึม
เป็นเครื่องหนังชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ขุดกลวง ขึงหน้าด้านหนึ่งด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือก ใช้ดีประกอบจังหวะในวงกันตรึม
ปี่ไสล
ใช้บรรเลงในวงกันตรึมเป็นปี่ประเภทลิ้นคู่เช่นเดียวกับปี่ใน
กรับคู่
กรับคู่ เป็นกรับทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเหมือนกับกรับเสภาของภาคกลาง แต่ขนาดเล็กกว่าใช้ ประกอบจังหวะดนตรีใน วงกันตรึม กรับคู่ชุดหนึ่งมี ๒ คู่ ใช้ขยับ ๒ มือ
4. ภาคใต้
ทับ
ทับ เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะควบคุมการเปลี่ยนแปลงจังหวะและ เสริมท่ารำของการแสดงโนราให้ดีเยี่ยม ตัว ทับมีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่มีขนาดเล็กกว่า มาก ยาวประมาณ ๔๐-๕๐ เซนติเมตร ทำด้วยไม้แก่น ขนุน หุ้มด้วยหนัง เช่น หนังค่าง หนังแมว ตรึงหนัง ด้วยเชือกด้ายและหวาย ทับใบหนึ่งจะมีเสียงทุ้ม เรียกว่า "ลูกเทิง" ส่วนอีกใบ หนึ่งจะ มีเสียงแหลมเรียกว่า "ลูกฉับ"
กลองโนรา
กลองโนรา ใช้ประกอบการแสดงโนราหรือหนัง ตะลุง โดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า กลองทั้ง ๒ ด้าน ประมาณ ๑๐ นิ้ว และมี ส่วนสูงประมาณ ๑๒ นิ้ว กลองโนรานิยมทำด้วยแก่น ไม้ขนุน เพราะเชื่อว่าทำให้เสียงดี หนังที่ หุ้มกลองใช้หนังวัวหรือควายหนุ่ม ถ้าจะให้ ดีต้องใช้หนังของลูกวัวหรือลูกควาย มี หมุดไม้หรือภาษาใต้เรียกว่า "ลูกสัก" ตอกยึดหนังหุ้มให้ตึง มีขาทั้งสอง ขาทำด้วยไม้ไผ่มีเชือกตรึงให้ติดกับ กลอง และมี ไม้ตีขนาดพอเหมาะ ๑ คู่ ถ้า เป็นกลองที่ใช้ประกอบการแสดงหนังตะลุง จะมี ขนาดเล็กกว่า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ นิ้ว และมีส่วนสูงประมาณ ๘ นิ้ว
โหม่งกับฉิ่ง
โหม่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีส่วนสำคัญในการขับ บท ทั้งในด้านการให้เสียงและให้จังหวะ เพราะ โนราหรือหนังตะลุง ต้องร้องบทให้กลมกลืนกับ เสียงโหม่งซึ่งมี ๒ ระดับ คือ เสียงทุ้มและเสียง แหลม โดยจะยึดเสียงแหลมเป็นสิ่งสำคัญ เรียกเสียง เข้าโหม่ง ส่วนไม้ตีโหม่งจะใช้ยางหรือด้าย ดิบหุ้มพันเพื่อให้มีเสียงนุ่มเวลาตี
ฉิ่ง เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญต่อการขับบท ของโนราหรือหนังตะลุง ผู้ที่ตีฉิ่งต้องพยาม ตีให้ลงกับจังหวะที่ขับบท สมัยก่อนนิยม ใช้ฉิ่งขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ นิ้ว ส่วนปัจจุบันใช้ฉิ่งขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ ๑.๕ นิ้ว ทำด้วยทองเหลืองชนิด หนา
ปี่
เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญใน การเสริมเสียงสะกดใจผู้ชม ให้เกิดความรู้ สึกเคลิบเคลิ้มและทำให้ผู้แสดงร่ายรำด้วยลีลา ที่อ่อนช้อย ตัวปี่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือ ใช้แก่นไม้บางชนิด เช่น ไม้กระถิน ไม้มะม่วง ไม้ รักป่า หรือไม้มะปริง ส่วนพวกปี่ทำด้วยแผ่น ทองแดงและลิ้นปี่ทำด้วยใบตาล ซึ่งนิยมใช้ใบ ของต้นตาลเดี่ยวกลางทุ่ง เพราะเชื่อว่าจะทำ ให้ปี่มีเสียงไพเราะ
แตระพวงหรือกรับพวง
แตระพวงหรือกรับพวง เป็นเครื่องประกอบจังหวะทำจากไม้เนื้อแข็งขนาด ๐.๕x ๒ x ๖ นิ้ว นำมาเจาะรูหัวท้าย ร้อยเชือก ซ้อนกันประมาณ ๑๐ อัน ที่แกนหลังร้อยแตระทำ ด้วยโลหะ
การฝึกเครื่องดนตรีไทย
การฝึกซออู้
การเทียบเสียงซออู้
ใช้ขลุ่ยเพียงออเป่าเสียง ซอล โดยปิดมือบนแ+ละนิ้วค้ำ เป่าลมกลางๆ จะได้เสียง ซอล เพื่อเทียบเสียงสายเอก ส่วนสายทุ้ม ให้ปิดมือล่างหมด จนถึงนิ้วก้อย เป่าลมเบา ก็จะได้เสียง โด ตามต้องการ เพื่อเทียบเสียงสายทุ้ม ให้ตรงกับเสียงนั้น
การนั่งสีซอ
นั่งขัดสมาธิบนพื้น หากเป็นสตรีให้นั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้าย วางกะโหลกซอไว้บนขาพับด้านซ้าย มือซ้ายจับคันซอให้ตรงกับที่มีเชือกรัดอก ให้ต่ำกว่าเชือกรัดอกประมาณ 1 นิ้ว ส่วนมือขวาจับคันสี-โดยแบ่งคันสีออกเป็น 5 ส่วน แล้วจับตรง 3 ส่วนให้คันสีพาดไปบนนิ้วชี้ และนิ้วกลางในลักษณะหงายมือ ส่วนนิ้วหัวแม่มือ ใช้กำกับคันสีโดยกดลงบนนิ้วชี้ นิ้วนางและนิ้วก้อยให้งอติดกัน เพื่อทำหน้าที่ดันคันชักออกเมื่อจะสีสายเอก และ ดึงเข้าเมื่อจะสีสายทุ้ม
การสีซอ
วางคันสีให้ชิดด้านใน ให้อยู่ในลักษณะเตรียมชักออก แล้วลากคันสีออกช้าๆด้วยการใช้วิธีสีออก ลากคันสีให้สุด แล้วเปลี่ยนเป็นสีเข้าในสายเดียวกัน ทำเรื่อยไปจนกว่าจะคล่อง พอคล่องดีแล้ว ให้เปลี่ยนมาเป็นสีสายเอก โดยดันนิ้วนางกับนิ้วก้อยออกไปเล็กน้อย ซอจะเปลี่ยนเป็นเสียง ซอล ทันที ดังนี้คันสี ออก เข้า ออก เข้า เสียง โด โด ซอล ซอล ฝึกเรื่อยไปจนเกิดความชำนาญ
ข้อควรระวัง ต้องวางซอให้ตรง โดยใช้มือซ้ายจับซอให้พอเหมาะ อย่าให้แน่นเกินไป อย่าให้หลวมจนเกินไป ข้อมือที่จับซอต้องทอดลงไปให้พอดี ขณะนั่งสียืดอกพอสมควร อย่าให้หลังโกงได้ มือที่คีบซอให้ออกกำลังพอสมควรอย่าให้ซอพลิก
การฝึกซอด้วง
การเทียบเสียงซอด้วง
ใช้ขลุ่ยเพียงออเป่าเสียง ซอล โดยการปิดมือบน และ นิ้วค้ำ เป่าลมกลางๆ ก็จะได้เสียง ซอล ขึ้นสายทุ้มของซอด้วง ให้ตรงกับเสียงซอลนี้ ต่อไปเป็นเสียงสายเอก ใช้ขลุ่ยเป่าเสียง เร โดยปิดนิ้วต่อไปอีก 3 นิ้ว เป่าด้วยลมแรง ก็จะได้
เสียง เร ขึ้นสายเอกให้ตรงกับเสียง เร นี้
การนั่งสีซอ
นั่งพับเพียบบนพื้น จับคันซอด้วยมือซ้าย ให้ได้กึ่งกลางต่ำกว่ารัดอกลงมาเล็กน้อย ให้ซอโอนออกกจากตัวนิดหน่อย คันซออยู่ในอุ้งมือซ้าย ตัวกระบอกซอวางไว้บนขา ให้ตัวกระบอกซออยู่ในตำแหน่งข้อพับติดกับลำตัว มือขวาจับคันสีด้วยการแบ่งคันสีให้ได้ 5 ส่วน แล้วจึงจับส่วนที่ 3 ข้างท้าย ให้คันสีพาดไปบนมือนิ้วชี้ นิ้วกลางเป็นส่วนรับคันสี ใช้นิ้วหัวแม่มือกดกระชับไว้ นิ้วนางกับนิ้วก้อยงอไว้ส่วนใน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดันคันสีออกมาหาสายเอก และ ดึงเข้าเมื่อต้องการสีสายทุ้ม
การสีซอ
วางคันสีไว้ด้านใน ให้อยู่ในลักษณะเตรียมชักออก ค่อยๆลากคันสีออกให้เกิดเสียง ซอล จนสุดคันชัก แล้วเปลี่ยนเป็นสีเข้าในสายเดียวกัน (ทำเรื่อยไปจนกว่าจะคล่อง) พอซ้อมสายในคล่องดีแล้ว จึงเปลี่ยนมาสีสายเอกซึ่งเป็นเสียง เร โดยการใช้นิ้วนางกับนิ้วก้อยมือขวา ดันคันสีออก ปฏิบัติจนคล่อง
ฝึกสลับให้เกิดเสียงดังนี้
คันสี ออก เข้า ออก เข้า
เสียง ซอล ซอล เร เร
ข้อควรระวัง ต้องวางซอให้ตรง โดยใช้ข้อมือซ้ายควบคุม อย่าให้ซอบิด

ซอสามสาย
ซอสามสาย เป็นซอ ที่มีรูปร่างงดงามที่สุด ซึ่งมีใช้ใน วงดนตรีไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. ๑๓๕๐) แล้ว ซอสามสายขึ้นเสียง ระหว่างสายเป็นคู่สี่ใช้บรรเลงในพระราชพิธี อันเนื่องด้วยองค์พระมหากษัตริย์ ภายหลังจึง บรรเลงประสมเป็นวงมโหรี
ซอด้วง
ซอด้วง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่อง เสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อ แข็ง ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลูกบิดขึ้นสาย อยู่ตอนบน ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสาย เอ็น มี ๒ สาย ขนาดต่างกัน คันชักอยู่ระหว่าง สาย ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ซอด้วงมีเสียงแหลม ใช้ เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย
ซออู้
ซออู้ เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียงอยู่ด้านตรง ข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมี ลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซอทำด้วยไหมฟั่น มีคันชักอยู่ระหว่างสาย ความยาวของคันซอ ประมาณ ๖๐ เซนติเมตร คันชักประมาณ ๕๐ เซนติมตร ซอ อู้มีเสียงทุ้มต่ำ บรรเลงคู่และสอดสลับกับ ซอด้วงในวงเครื่องสาย
จะเข้
จะเข้ เป็นเครื่องสาย ที่ใช้บรรเลงด้วยการดีด โดยปกติมีขนาดความ สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร และยาว ๑๔๐ เซนติเมตร ตัว จะเข้ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรง มีสาย ๓ สาย สายที่ ๑-๒ ทำด้วยไหมฟั่น สาย ที่ ๓ ทำด้วยทองเหลือง วิธีการบรรเลงมือซ้าย จะทำหน้าที่กดสายให้เกิดเสียงสูง- ต่ำ ส่วนมือขวาจะดีดที่สายด้วยวัตถุที่ ทำจากงาสัตว์
ขลุ่ย
ขลุ่ย ของไทยเป็นขลุ่ย ในตระกูลรีคอร์ดเดอร์ คือ มีที่บังคับแบ่งกระแส ลม ทำให้เกิดเสียงในตัวไม่ใช่ขลุ่ยผิว ตระกูลฟลุตแบบจีน ขลุ่ยไทยมีหลายขนาด ได้แก่ ขลุ่ยอู้ มีเสียงต่ำที่สุด ระดับกลาง คือ ขลุ่ย เพียงออ เสียงสูง ได้แก่ ขลุ่ยหลีบ และยังที่มี เสียงสูงกว่านี้คือ ขลุ่ยกรวดหรือขลุ่ยหลีบกรวด อีกด้วย ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายและ วงมโหรี
ปี่
ปี่ เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้น ทำด้วยใบตาล เป็นเครื่องกำเนิดเสียง เป็นประเภทลิ้นคู่ (หรือ ๔ ลิ้น) เช่นเดียวกับโอโบ ( Oboe) มีหลายชนิดคือ ปี่นอก ปี่ใน ปี่ กลาง ปี่มอญ ปี่ไทยที่เด่นที่สุด คือ ปี่ ในตระกูลปี่ใน ซึ่งมีรูปิดเปิดบังคับลม เพียง ๖ รู แต่สามารถบรรเลงได้ถึง ๒๒ เสียง และ สามารถเป่าเลียนเสียงคนพูดได้ชัดเจน
ระนาดเอก
ระนาดเอก เป็นระนาดเสียงแหลมสูง ประกอบ ด้วยลูกระนาดที่ทำด้วยไม้ไผ่บงหรือไม้ เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน ๒๑-๒๒ ลูก ร้อยเข้า ด้วยกันเป็นผืนระนาด และแขวนหัวท้ายทั้ง ๒ ไว้บนกล่องเสียงที่เรียกว่า รางระนาด ซึ่งมี รูปร่างคล้ายเรือ ระนาดเอกทำหน้าที่นำวง ดนตรีด้วยเทคนิคการบรรเลงที่ประณีตพิศดาร มักบรรเลง ๒ แบบ คือ ตีด้วยไม้แข็ง เรียกว่า ปี่พาทย์ ไม้แข็ง และตีด้วยไม้นวม เรียกปี่พาทย์
ไม้นวม ระนาดเอกเรียงเสียงต่ำไปหาสูงจาก ซ้ายไปขวา และเทียบเสียงโดยวิธีใช้ชันโรงผสม ผงตะกั่วติดไว้ด้านล่างทั้งหัวและท้ายของ ลูกระนาด
ระนาดทุ้ม
ระนาดทุ้ม ทำด้วยไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็งมีผืนละ ๑๘ ลูก มีรูป ร่างคล้ายระนาดเอกแต่เตี้ยกว่าและกว้างกว่าเล็ก น้อย ระนาดทุ้มใช้บรรเลงหยอกล้อกับระนาดเอก
ฆ้องวงใหญ่
ฆ้องวงใหญ่ เป็นหลักของวงปี่ พาทย์ และวงมโหรีใช้บรรเลงทำนองหลัก มีลูกฆ้อง ๑๖ ลูก ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน คือ
ลูก ฆ้อง : เป็นส่วนกำเนิดเสียงทำด้วยโลหะผสม มี ลักษณะคล้ายถ้วยกลม ๆ ใหญ่เล็กเรียงตามลำดับเสียง ต่ำสูง ด้านบนมีตุ่มนูนขึ้นมาใช้สำหรับ ตีและใต้ตุ่มอุดไว้ด้วยตะกั่วผสมชันโรง เพื่อ ถ่วงเสียงให้สูงต่ำตามต้องการ
เรือนฆ้อง : ทำด้วยหวายขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว เศษ ขดเป็นวง และยึดไว้ด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงเป็นลวดลายคล้ายลูกกรง และมีไม้ไผ่ เหลาเป็นซี่ ๆ ค้ำยันให้ฆ้องคงตัวเป็น โครงสร้างอยู่ได้ การผูกลูกฆ้องแขวนเข้ากับ เรือนฆ้อง ผูกด้วยเชือกหนังโดยใช้เงื่อน
ฆ้องวงเล็ก
ฆ้องวงเล็ก มีขนาดเล็กกว่า แต่ เสียงสูงกว่าฆ้องวงใหญ่มีวิธีตีเช่นเดียว กับฆ้องวงใหญ่ แต่ดำเนินทำนองเป็นทางเก็บหรือ ทางอื่นแล้วแต่กรณี บรรเลงทำนองแปรจากฆ้องวง ใหญ่ ฆ้องวงเล็กมี ๑๘ ลูก
โทนรำมะนา
โทน : รูปร่างคล้ายกลองยาวขนาดเล็ก ทำด้วยไม้ หรือดินเผา ขึงด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือก หนัง ตัวกลองยาวประมาณ ๓๔ เซนติเมตร ตรงกลางคอด ด้านตรงข้ามหน้ากลองคล้ายทรงกระบอกปากบานแบบ ลำโพง ตรงเอวคอดประมาณ ๑๒ เซนติเมตร ใช้ตีคู่ กับรำมะนา
รำมะนา : เป็นกลองทำด้วยไม้ขึง หนังหน้าเดียวมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒๒ เซนติเมตร ใช้ในวงเครื่องสาย
กลองแขก
กลองแขก เป็น กลองที่ตีหน้าทับได้ทั้งในวงปี่พาทย์ มโหรีและบางกรณีวงเครื่องสายก็ได้ ตีด้วย มือทั้ง ๒ หน้า คู่หนึ่งประกอบด้วยตัวผู้ ( เสียงสูง) และตัวเมีย (เสียงสูง)
กลองสองหน้า
กลองสองหน้า เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลองลูกหนึ่งในเปิงมางคอกขึง ด้วยหนังเลียดรอบตัว ใช้ในวงปี่พาทย์ หรือมโหรีบางกรณี
2. ภาคเหนือ
สะล้อ
สะล้อหรือ ทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลงด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงทำ ด้วยกะลามะพร้าว ตัดและปิดหน้าด้วยไม้บาง ๆ มีช่องเสียงอยู่ด้านหลัง คันสะล้อทำด้วย ไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็งอื่น ๆ โดยปกติจะ ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ลูกบิดอยู่ด้านหน้านิยม ทำเป็นสองสาย แต่ที่ทำเป็นสามสายก็ มีสาย ทำด้วยลวด (เดิมใช้สายไหมฟั่น ) สะล้อมี ๓ ขนาด คือ สะล้อเล็ก สะล้อกลาง และสะล้อใหญ่ ๓ สาย
ซึง
ซึง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่งใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง มีช่องเสียงอยู่ ด้านหน้า กำหนดระดับเสียงด้วยนมเป็นระยะ ๆ ดีด ด้วยเขาสัตว์บาง ๆ มีสายทำด้วยโลหะ เช่น ลวด หรือทองเหลือง (เดิมใช้สายไหมฟั่น) ๒ สาย
ปี่
ปี่ เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง ที่ ปลายข้างหนึ่งฝังลิ้นโลหะไว้เวลาเป่าใช้ปากอม ลิ้นที่ปลายข้างนี้ อีกด้านหนึ่งเจาะรู บังคับเสียงเรียงกัน ๖ รู ใช้ปิดเปิดด้วยนิ้ว มือทั้ง ๒ นิ้ว เพื่อให้เกิดทำนองเพลง มี ๓ ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่เรียก ปี่แม่ ขนาดรองลง มาเรียก ปี่กลาง และขนาดเล็กเรียก ปี่ก้อย นิยม บรรเลงประสมเป็นวงเรียก วงจุมปี่ หรือปี่จุม หรือบรรเลงร่วมกับซึงและสะ
แน
ปี่ แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ทำด้วยไม้ เนื้อแข็ง มีรูบังคับเสียง เช่นเดียวกับปี่ใน นิยมบรรเลงในวงประกอบกับฆ้อง กลอง ตะหลดปด และกลองแอว เช่น ในเวลาประกอบการฟ้อน เป็นต้น มี ๒ ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็กเรียก แนน้อย ขนาดใหญ่ เรียก แนหลวง
พิณเปี๊ยะ
พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว เวลาดีดเอา กะโหลกประกบติดไว้กับหน้าอก ขยับเปิด-ปิด เพื่อให้เกิดเสียงกังวานตามต้องการ สมัยก่อนหนุ่มชาว เหนือนิยมเล่นดีดคลอการขับร้องในขณะไป เกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในยามค่ำคืน ปัจจุบันมี ผู้เล่นได้น้อยมาก
กลองเต่งถิ้ง
กลองเต่งถิ้ง เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน เช่น ไม้ขนุน หน้ากลองขึงด้วยหนังวัว มี ขาสำหรับใช้วางตัวกลอง ใช้ประสมกับเครื่องดนตรี อื่น ๆ เพื่อเป็นเครื่องประกอบจังหวะ
ตะหลดปด
ตะหลดปด หรือมะหลดปด เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร หน้ากลองขึงด้วยหนัง โยงเร่งเสียงด้วยเชือกหนัง หน้าด้านกว้างขนาด ๓๐ เซนติเมตร ด้านแคบขนาด ๒๐ เซนติเมตร หุ่นกลองทำ ด้วยไม้เนื้อแข็งหรือเนื้ออ่อน ตีด้วยไม้หุ้มนวม มีขี้จ่า (ข้าวสุกบดผสมขี้เถ้า) ถ่วงหน้า
กลองติ้งโนง
กลองตึ่งโนง เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด ๓-๔ เมตรก็มี ใช้ตีเป็น อาณัติสัญญาณประจำวัด และใช้ในกระบวนแห่กระบวนฟ้อน ต่าง ๆ ประกอบกับตะหลดปด ปี่แน ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย ใช้ตีด้วยไม้ เวลาเข้ากระบวน จะมีคนหาม
กลองสะบัดชัย
กลองสะบัดชัยโบราณ เป็นกลองที่ มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี ๓ ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร
3. ภาคอีสาน
หืน
หืน เป็นเครื่องดนตรีกึ่งดีดกึ่งเป่าอย่างหนึ่งมี ทั้งที่ทำด้วยไม้ไผ่และโลหะเซาะร่องตรง กลางเป็นลิ้นในตัว เวลาเล่นประกบหืนเข้ากับ ปาก ดีดที่ปลายข้างหนึ่งด้วยนิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วชี้ อาศัยกระพุ้งปากเป็นกล่องเสียง ทำให้ เกิดเสียงสูงต่ำตามขนาดของกระพุ้งปากที่ทำ สามารถดีดเป็นเสียงแท้คล้ายเสียงคนออกเสียงสระ เครื่องดนตรีนี้มีเล่นกันในพวกชนเผ่ามูเซอ เรียกชื่อว่า เปี๊ยะ
เครื่องดนตรีชนิดนี้มิ ได้มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่มีใน ทุกส่วนของโลก เช่น แถบมองโกเลีย ปาปัว นิวกินี อัฟริกา และยุโรป นับเป็น เครื่องดนตรีโบราณชิ้นหนึ่งที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง
แคน
แคน เป็น เครื่องดนตรีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของ ชาวภาคอีสานเหนือ และอีสานภาคกลางไม่รวมอีสาน ใต้ที่มีอิทธิพลเขมร ได้แก่ "แคน" แคนเป็นเครื่องดนตรีสมบูรณ์แบบที่สุด ที่มีประวัติ ความเป็นมาย้อนหลังไปหลายพันปี แคนทำ ด้วยไม้ซาง มีลิ้นโลหะ เช่นดีบุก เงิน หรือทองแดง บางๆ ประกอบไว้ในส่วนที่ประกอบอยู่ในเต้าแคน แคนมีหลายขนาด เช่น แคน ๗ แคน ๙ ข้าง ๆ เต้าแคน ด้านบนมีรูปิดเปิดบังคับเสียง เวลา เป่า เป่า ที่เต้าแคนด้านหน้า ใช้มือทั้งสอง ประกอบจับเต้าแคนในลักษณะเฉียงเล็กน้อย แคนเป็น เครื่องดนตรีที่บรรเลงได้ทั้งทำนองเพลงประสานเสียง และให้จังหวะในตัวเอง จึงมีลีลาการบรรเลง ที่วิจิตรพิสดารมาก
ระบบเสียงของแคน เป็นทั้งระบบ ไดอะโทนิค และเพนตะโทนิค มีขั้น คู่เสียงที่เล่นได้ทั้งแบบตะวันตกและแบบ ไทยรวมทั้งคู่เสียงระดับเดียวกันอีกด้วย
โหวต
โหวด เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกระแสลมที่เป่าผ่านไม้รวกหรือไม้ เฮี้ย (ไม้กู่แคน) หรือไม้ไผ่ ด้านรู เปิดของตัวโหวดทำด้วยไม้รวกขนาดเล็ก สั้น ยาว (เรียงลำดับตามความสูงต่ำของเสียง) ติด อยู่รอบกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นแกนกลาง ติดไว้ด้วยขี้สูด มีจำนวน ๖-๙ เลา ความ ยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร เวลาเป่าจะหมุนไปรอบๆ ตามเสียงที่ต้องการ
พิณ
เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงด้วยการดีด มี ๒-๓ สาย แต่ขึ้นเป็นสองคู่ โดยขึ้นคู่ ๕ ดีดเป็นทำนองเพลง ตัว พิณและคันทวนนิยมแกะด้วยไม้ชิ้นเดียวกัน มีนมสำหรับตั้งเสียง สายพิณนิยมทำด้วยโลหะ โดยเฉพาะสายลวดเบรคจักรยาน ที่ดีดนิยมทำด้วยขาสัตว์แบนๆ เหลาให้บางพอที่จะดีด สะบัดได้
โปงลาง
โปงลางเป็นเครื่องดนตรีประเภทที่บรรเลง ทำนองด้วยการตีเพียงชนิดเดียวของภาคอีสาน โดย บรรเลงร่วมกันกับแคน พิณและเครื่องประกอบจังหวะ หรือ บรรเลงเดี่ยว ตังโปงลางทำด้วยท่อนไม้แข็งขนาดต่างๆ กันเรียงตามลำดับเสียงร้อยด้วยเชือกเป็นลูกระนาด ปลายข้างเสียงสูงผูกแขวนไว้กับกิ่งไม้ และ ข้างเสียงต่ำปล่อยทอดเยื้องลงมาคล้องไว้กับ หัวแม่เท้าของผู้บรรเลง หรือคล้องกับวัสดุ ปกติ ผู้เล่นโปงลางรางหนึ่งมี ๒ คน คือ คนบรรเลง ทำนองเพลงกับคนบรรเลงเสียงกระทบแบบคู่ประสาน ไม้ ที่ตีโปงลางทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นรูปคล้าย ค้อนตีด้วยมือสองข้าง ข้างละอัน ขนาดของโปงลางไม่มีมาตรฐานแน่นอน
จะเข้กระบือ
เป็นเครื่องดนตรีสำคัญชิ้นหนึ่งในวงมโหรีเขมร เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดในแนวนอน มี ๓ สาย สมัยก่อนสายทำจากเส้นไหมฟั่น ปัจจุบันทำจาก สายเบรคจักรยาน การบรรเลงจะใช้มือซ้ายกด สายบนเสียงที่ต้องการ ส่วนมือขวาใช้สำหรับดีด
กระจับปี่
เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด โดยใช้กระที่ทำจากเขาสัตว์ กล่องเสียงทำ ด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก ส่วนปลายสุดมีรู ๒ รู ใช้ใส่ลูกบิดและร้อยสาย เมื่อบรรเลง จะตั้งขนานกับลำตัว มือขวาจับกระสำหรับดีด มือซ้ายกดที่สายเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง
ซอกันตรึม
เป็นเครื่องสายใช้สี ทำ ด้วยไม้ กล่องเสียงขึงด้วยหนังงู มีช่องเสียง อยู่ด้านตรงข้ามหน้าซอ ใช้สายลวดมี ๒ สาย คันชักอยู่ระหว่างสาย คันซอยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลูกบิดอยู่ตอนนอกซอใช้รัด ด้วยเชือก ขนาดของซอแตกต่างกันไปตามความ ประสงค์ของผู้สร้าง โดยทั่วไปมี ๓ ขนาด คือ ขนาดเล็กเรียก ตรัวจี้ ขนาดกลางเรียกตรัวเอก ขนาดใหญ่เรียก
กลองกันตรึม
เป็นเครื่องหนังชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ขุดกลวง ขึงหน้าด้านหนึ่งด้วยหนังดึงให้ตึงด้วยเชือก ใช้ดีประกอบจังหวะในวงกันตรึม
ปี่ไสล
ใช้บรรเลงในวงกันตรึมเป็นปี่ประเภทลิ้นคู่เช่นเดียวกับปี่ใน
กรับคู่
กรับคู่ เป็นกรับทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเหมือนกับกรับเสภาของภาคกลาง แต่ขนาดเล็กกว่าใช้ ประกอบจังหวะดนตรีใน วงกันตรึม กรับคู่ชุดหนึ่งมี ๒ คู่ ใช้ขยับ ๒ มือ
4. ภาคใต้
ทับ
ทับ เป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญ ในการให้จังหวะควบคุมการเปลี่ยนแปลงจังหวะและ เสริมท่ารำของการแสดงโนราให้ดีเยี่ยม ตัว ทับมีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่มีขนาดเล็กกว่า มาก ยาวประมาณ ๔๐-๕๐ เซนติเมตร ทำด้วยไม้แก่น ขนุน หุ้มด้วยหนัง เช่น หนังค่าง หนังแมว ตรึงหนัง ด้วยเชือกด้ายและหวาย ทับใบหนึ่งจะมีเสียงทุ้ม เรียกว่า "ลูกเทิง" ส่วนอีกใบ หนึ่งจะ มีเสียงแหลมเรียกว่า "ลูกฉับ"
กลองโนรา
กลองโนรา ใช้ประกอบการแสดงโนราหรือหนัง ตะลุง โดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้า กลองทั้ง ๒ ด้าน ประมาณ ๑๐ นิ้ว และมี ส่วนสูงประมาณ ๑๒ นิ้ว กลองโนรานิยมทำด้วยแก่น ไม้ขนุน เพราะเชื่อว่าทำให้เสียงดี หนังที่ หุ้มกลองใช้หนังวัวหรือควายหนุ่ม ถ้าจะให้ ดีต้องใช้หนังของลูกวัวหรือลูกควาย มี หมุดไม้หรือภาษาใต้เรียกว่า "ลูกสัก" ตอกยึดหนังหุ้มให้ตึง มีขาทั้งสอง ขาทำด้วยไม้ไผ่มีเชือกตรึงให้ติดกับ กลอง และมี ไม้ตีขนาดพอเหมาะ ๑ คู่ ถ้า เป็นกลองที่ใช้ประกอบการแสดงหนังตะลุง จะมี ขนาดเล็กกว่า ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ นิ้ว และมีส่วนสูงประมาณ ๘ นิ้ว
โหม่งกับฉิ่ง
โหม่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีส่วนสำคัญในการขับ บท ทั้งในด้านการให้เสียงและให้จังหวะ เพราะ โนราหรือหนังตะลุง ต้องร้องบทให้กลมกลืนกับ เสียงโหม่งซึ่งมี ๒ ระดับ คือ เสียงทุ้มและเสียง แหลม โดยจะยึดเสียงแหลมเป็นสิ่งสำคัญ เรียกเสียง เข้าโหม่ง ส่วนไม้ตีโหม่งจะใช้ยางหรือด้าย ดิบหุ้มพันเพื่อให้มีเสียงนุ่มเวลาตี
ฉิ่ง เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญต่อการขับบท ของโนราหรือหนังตะลุง ผู้ที่ตีฉิ่งต้องพยาม ตีให้ลงกับจังหวะที่ขับบท สมัยก่อนนิยม ใช้ฉิ่งขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๒ นิ้ว ส่วนปัจจุบันใช้ฉิ่งขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ ๑.๕ นิ้ว ทำด้วยทองเหลืองชนิด หนา
ปี่
เครื่องดนตรีชนิดนี้มีความสำคัญใน การเสริมเสียงสะกดใจผู้ชม ให้เกิดความรู้ สึกเคลิบเคลิ้มและทำให้ผู้แสดงร่ายรำด้วยลีลา ที่อ่อนช้อย ตัวปี่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง หรือ ใช้แก่นไม้บางชนิด เช่น ไม้กระถิน ไม้มะม่วง ไม้ รักป่า หรือไม้มะปริง ส่วนพวกปี่ทำด้วยแผ่น ทองแดงและลิ้นปี่ทำด้วยใบตาล ซึ่งนิยมใช้ใบ ของต้นตาลเดี่ยวกลางทุ่ง เพราะเชื่อว่าจะทำ ให้ปี่มีเสียงไพเราะ
แตระพวงหรือกรับพวง
แตระพวงหรือกรับพวง เป็นเครื่องประกอบจังหวะทำจากไม้เนื้อแข็งขนาด ๐.๕x ๒ x ๖ นิ้ว นำมาเจาะรูหัวท้าย ร้อยเชือก ซ้อนกันประมาณ ๑๐ อัน ที่แกนหลังร้อยแตระทำ ด้วยโลหะ
การฝึกเครื่องดนตรีไทย
การฝึกซออู้
การเทียบเสียงซออู้
ใช้ขลุ่ยเพียงออเป่าเสียง ซอล โดยปิดมือบนแ+ละนิ้วค้ำ เป่าลมกลางๆ จะได้เสียง ซอล เพื่อเทียบเสียงสายเอก ส่วนสายทุ้ม ให้ปิดมือล่างหมด จนถึงนิ้วก้อย เป่าลมเบา ก็จะได้เสียง โด ตามต้องการ เพื่อเทียบเสียงสายทุ้ม ให้ตรงกับเสียงนั้น
การนั่งสีซอ
นั่งขัดสมาธิบนพื้น หากเป็นสตรีให้นั่งพับเพียบขาขวาทับขาซ้าย วางกะโหลกซอไว้บนขาพับด้านซ้าย มือซ้ายจับคันซอให้ตรงกับที่มีเชือกรัดอก ให้ต่ำกว่าเชือกรัดอกประมาณ 1 นิ้ว ส่วนมือขวาจับคันสี-โดยแบ่งคันสีออกเป็น 5 ส่วน แล้วจับตรง 3 ส่วนให้คันสีพาดไปบนนิ้วชี้ และนิ้วกลางในลักษณะหงายมือ ส่วนนิ้วหัวแม่มือ ใช้กำกับคันสีโดยกดลงบนนิ้วชี้ นิ้วนางและนิ้วก้อยให้งอติดกัน เพื่อทำหน้าที่ดันคันชักออกเมื่อจะสีสายเอก และ ดึงเข้าเมื่อจะสีสายทุ้ม
การสีซอ
วางคันสีให้ชิดด้านใน ให้อยู่ในลักษณะเตรียมชักออก แล้วลากคันสีออกช้าๆด้วยการใช้วิธีสีออก ลากคันสีให้สุด แล้วเปลี่ยนเป็นสีเข้าในสายเดียวกัน ทำเรื่อยไปจนกว่าจะคล่อง พอคล่องดีแล้ว ให้เปลี่ยนมาเป็นสีสายเอก โดยดันนิ้วนางกับนิ้วก้อยออกไปเล็กน้อย ซอจะเปลี่ยนเป็นเสียง ซอล ทันที ดังนี้คันสี ออก เข้า ออก เข้า เสียง โด โด ซอล ซอล ฝึกเรื่อยไปจนเกิดความชำนาญ
ข้อควรระวัง ต้องวางซอให้ตรง โดยใช้มือซ้ายจับซอให้พอเหมาะ อย่าให้แน่นเกินไป อย่าให้หลวมจนเกินไป ข้อมือที่จับซอต้องทอดลงไปให้พอดี ขณะนั่งสียืดอกพอสมควร อย่าให้หลังโกงได้ มือที่คีบซอให้ออกกำลังพอสมควรอย่าให้ซอพลิก
การฝึกซอด้วง
การเทียบเสียงซอด้วง
ใช้ขลุ่ยเพียงออเป่าเสียง ซอล โดยการปิดมือบน และ นิ้วค้ำ เป่าลมกลางๆ ก็จะได้เสียง ซอล ขึ้นสายทุ้มของซอด้วง ให้ตรงกับเสียงซอลนี้ ต่อไปเป็นเสียงสายเอก ใช้ขลุ่ยเป่าเสียง เร โดยปิดนิ้วต่อไปอีก 3 นิ้ว เป่าด้วยลมแรง ก็จะได้
เสียง เร ขึ้นสายเอกให้ตรงกับเสียง เร นี้
การนั่งสีซอ
นั่งพับเพียบบนพื้น จับคันซอด้วยมือซ้าย ให้ได้กึ่งกลางต่ำกว่ารัดอกลงมาเล็กน้อย ให้ซอโอนออกกจากตัวนิดหน่อย คันซออยู่ในอุ้งมือซ้าย ตัวกระบอกซอวางไว้บนขา ให้ตัวกระบอกซออยู่ในตำแหน่งข้อพับติดกับลำตัว มือขวาจับคันสีด้วยการแบ่งคันสีให้ได้ 5 ส่วน แล้วจึงจับส่วนที่ 3 ข้างท้าย ให้คันสีพาดไปบนมือนิ้วชี้ นิ้วกลางเป็นส่วนรับคันสี ใช้นิ้วหัวแม่มือกดกระชับไว้ นิ้วนางกับนิ้วก้อยงอไว้ส่วนใน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดันคันสีออกมาหาสายเอก และ ดึงเข้าเมื่อต้องการสีสายทุ้ม
การสีซอ
วางคันสีไว้ด้านใน ให้อยู่ในลักษณะเตรียมชักออก ค่อยๆลากคันสีออกให้เกิดเสียง ซอล จนสุดคันชัก แล้วเปลี่ยนเป็นสีเข้าในสายเดียวกัน (ทำเรื่อยไปจนกว่าจะคล่อง) พอซ้อมสายในคล่องดีแล้ว จึงเปลี่ยนมาสีสายเอกซึ่งเป็นเสียง เร โดยการใช้นิ้วนางกับนิ้วก้อยมือขวา ดันคันสีออก ปฏิบัติจนคล่อง
ฝึกสลับให้เกิดเสียงดังนี้
คันสี ออก เข้า ออก เข้า
เสียง ซอล ซอล เร เร
ข้อควรระวัง ต้องวางซอให้ตรง โดยใช้ข้อมือซ้ายควบคุม อย่าให้ซอบิด
หลักการขับร้อง
หลักการขับร้องเพลงไทยที่ผู้เรียนควรทราบ มีดังนี้
1. ท่านั่ง การนั่งมีทั้งการนั่งราบกับพื้นหรือ
การนั่งบนเก้าอี้ ผู้ขับร้องควรนั่งสำรวมทั้งท่าทางและการเคลื่อนไหวมือ
เท้า ลำตัว อริยบถอื่นๆ หันหน้าไปทางด้านหน้าของวงดนตรี หรือด้าน
หน้าของผู้ชม
2. ท่ายืน บางครั้งการขับร้องเพลงไทย
อาจมีการยืน ผู้ขับร้องควรยืนสำรวมท่าทางและการเคลื่อนไหวมือ เท้า
และลำตัว
3. ควบคุมรดับเสียงให้สอดคล้องกับ
ระดับเสียงของเครื่องดนตรี
4. ระบบการหายใจควรฝึกให้ถูกต้องว่า
ควรหายใจเข้า ผ่อนลมหายใจช่วงใดของทำนองหรือบทร้อง
5. ขับร้องให้ถูกต้องตามทำนองการเอื้อน
จังหวะ ระดับเสียงที่ดำเนินตามความสั้น ยาว เบา ดัง เป็นต้น
6. การเปล่งเสียงในระดับเสียงสูง - ต่ำ
ที่มีฝึกมาก่อน อาจทำให้แนวการขับร้องคลาดเคลื่อนได้ จึงต้องควบ
คุมและระมัดระวัง
7. เปล่งถ้อยคำให้ถูกต้องชัดเจนตาม
ภาษาที่ขับร้องทั้งพยัญชนะ สระ คำควบกล้ำ
8. ต้องเข้าใจการแบ่งวรรคตอนของคำ
ที่ปรากฎในบทเพลงเพราะหากแบ่งและแยกคำไม่ถูกต้อง อาจทำให้
ความหมายของบทร้องนั้นคลาดเคลื่อนไปจากความหมายเดิมได้
9. ควรศึกษาทำความเข้าใจเนื้อความ
ของบทร้องก่อนว่า บทร้องนั้นต้องการสื่อเนื้อความของงานใดหรือ
จากวรรณคดีใด เพื่อช่วยให้การร้องสามารถสอดแทรกอารมณ์ตาม
บทเพลงนั้นได้อ่ย่างถูกต้อง
1. ท่านั่ง การนั่งมีทั้งการนั่งราบกับพื้นหรือ
การนั่งบนเก้าอี้ ผู้ขับร้องควรนั่งสำรวมทั้งท่าทางและการเคลื่อนไหวมือ
เท้า ลำตัว อริยบถอื่นๆ หันหน้าไปทางด้านหน้าของวงดนตรี หรือด้าน
หน้าของผู้ชม
2. ท่ายืน บางครั้งการขับร้องเพลงไทย
อาจมีการยืน ผู้ขับร้องควรยืนสำรวมท่าทางและการเคลื่อนไหวมือ เท้า
และลำตัว
3. ควบคุมรดับเสียงให้สอดคล้องกับ
ระดับเสียงของเครื่องดนตรี
4. ระบบการหายใจควรฝึกให้ถูกต้องว่า
ควรหายใจเข้า ผ่อนลมหายใจช่วงใดของทำนองหรือบทร้อง
5. ขับร้องให้ถูกต้องตามทำนองการเอื้อน
จังหวะ ระดับเสียงที่ดำเนินตามความสั้น ยาว เบา ดัง เป็นต้น
6. การเปล่งเสียงในระดับเสียงสูง - ต่ำ
ที่มีฝึกมาก่อน อาจทำให้แนวการขับร้องคลาดเคลื่อนได้ จึงต้องควบ
คุมและระมัดระวัง
7. เปล่งถ้อยคำให้ถูกต้องชัดเจนตาม
ภาษาที่ขับร้องทั้งพยัญชนะ สระ คำควบกล้ำ
8. ต้องเข้าใจการแบ่งวรรคตอนของคำ
ที่ปรากฎในบทเพลงเพราะหากแบ่งและแยกคำไม่ถูกต้อง อาจทำให้
ความหมายของบทร้องนั้นคลาดเคลื่อนไปจากความหมายเดิมได้
9. ควรศึกษาทำความเข้าใจเนื้อความ
ของบทร้องก่อนว่า บทร้องนั้นต้องการสื่อเนื้อความของงานใดหรือ
จากวรรณคดีใด เพื่อช่วยให้การร้องสามารถสอดแทรกอารมณ์ตาม
บทเพลงนั้นได้อ่ย่างถูกต้อง
ความรู้พื้นฐาน
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับดนตรีไทย
1. ความหมายและประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย
1.1 ความหมายของดนตรีไทย
ดนตรีไทย หมายถึง เพลงไทยที่มีระดับเสียงซึ่งประกอบขึ้นเป็นทำนองมีลีลา จังหวะ มีความเสนาะไพเราะ ก่อให้เกิดความรู้สึกรื่นเริง สนุกสนาน รัก อ่อนหวาน ให้ความสุข เศร้าโศก ปลุกจิตใจให้ฮึกเหิม เป็นต้น
ดนตรีไทย มีความสำคัญต่อการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นิยมให้มีวงดนตรีไทยร่วมบรรเลงด้วย เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญ งานบวชนาค งานมงคลสมรส งานเฉลิมฉลอง งานในเทศกาลต่างๆ ตลอดจนการบรรเลงประกอบการแสดง เป็นต้น
1.2 ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย
ดนตรีไทย เป็นดนตรีที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้น ใช้บรรเลงในกิจกรรมต่างๆ ของสังคมที่ตนอาศัยอยู่ เช่น บรรเลงเพื่อประกอบพิธีตามความเชื่อ และเพื่อประกอบการแสดง
1.3 องค์ประกอบของดนตรีไทย
ดนตรีที่มีความไพเราะน่าฟังจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1.3.1 เสียงดนตรี เป็นเสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วเสียงดนตรีเกิดจากเสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์
1.3.2 ทำนอง หมายถึง เสียงต่ำ เสียงสูง เสียงสั้น เสียงยาว เสียงทุ้ม เสียงแหลมของดนตรีหรือบทเพลง
1.3.3 จังหวะ หมายถึง การเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอ จังหวะจะเป็นตัวกำกับเพื่อให้การร้องเพลงหรือการเล่นดนตรีออกมาในลักษณะที่พร้อมเพรียงกัน
1.3.4 การประสานเสียง เสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์ที่มีระดับเสียงต่างกันเปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน เช่น การร้องเพลงพร้อมกับการเล่นกีตาร์คอร์ดประสานเสียงร้อง เป็นต้น
2. แนวทำนองเพลงไทย
เพลงไทยมีแนวทำนองที่ก่อให้เกิดความรู้สึกที่สามารถสัมผัสอารมณ์เพลงได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
2.1 เพลงที่ให้ความรู้สึกขลัง น่าเคารพ เช่น เพลงสาธุการ เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย เป็นต้น
2.2 เพลงที่ให้ความรู้สึกรื่นเริงสนุกสนาน เช่น เพลงค้างคาวกินกล้วย เพลงเขมรไล่ควาย เป็นต้น
2.3 เพลงที่ให้ความรู้สึกรักอ่อนหวาน เช่น เพลงลาวดวงเดือน เพลงชมโฉม เป็นต้น
2.4 เพลงที่ให้ความรู้สึกสุขใจจากสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เช่น เพลงคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น เพลงเขมรไทรโยค เป็นต้น
2.5 เพลงที่ให้ความรู้สึกเศร้าโศก เช่น เพลงธรณีกรรแสง เพลงมอญร้องไห้ เป็นต้น
2.6 เพลงที่ให้ความรู้สึกฮึกเหิม องอาจ เร้าใจ เช่น เพลงกราวใน เพลงกราวนอก เป็นต้น
3. ครูเทพเจ้าของดนตรีไทย
ครูเทพเจ้าที่ศิลปินนักดนตรีไทยเคารพนับถือมีหลายองค์ ตามแนวของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ความเชื่อการแสดงความเคารพนับถือ เป็นความกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อเทพเจ้าแห่งดนตรี สร้าง
งานศิลปะดนตรีเป็นเลิศในการบรรเลงเพลงด้วยเครื่องดนตรีและการขับร้อง
3.1 พระวิศณุกรรม เป็นเจ้าแห่งช่างทุกประเภททั้งช่างเขียน ช่างปั้น ช่างก่อสร้าง ในคัมภีร์นาฏศาสตร์ตอนที่พระภรตฤษีรับเทวโองการจากพระมหาพรหม ให้เริ่มวิธีการแสดงละคร พระภรตฤษีได้ขอให้พระวิศณุกรรมสร้างโรงละคร พระวิศณุกรรมจึงออกแบบสร้างโรงละครไว้ และสอนให้ชาวเมืองมนุษย์รู้จักร้องรำทำเพลง
3.2 พระปัญจสีขร เทพเจ้าผู้มีความเป็นเลิศด้านการดีดพิณและการขับลำ ในอดีตชาติพระปัญจสีขรเป็นเด็กเลี้ยงโคไว้ผม 5 แหยม มีชื่อเรียกว่า “ปัญจสิขะ” เป็น ผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในการสร้างกุศล ได้สร้างการสาธารณสถาน เช่น ศาลา สระน้ำ ถนน ยานพาหนะ แต่ต้องตายขณะอยู่ในวัยหนุ่ม จึงไปเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจาตุมหาราช มีร่างกายเป็นสีทอง มีมงกุฎห้ายอด
3.3 พระปรคนธรรพ เทพเจ้า ผู้เป็นยอดแห่งคนธรรพ์ นามที่แท้จริง คือ พระนารทมุนี เป็นผู้คิดและสร้างพิณคันแรกขึ้น มีความชำนาญในการขับร้องและบรรเลงดนตรีทำหน้าที่เป็นพนักงานขับร้องและ บรรเลงดนตรีกล่อมพระเป็นเจ้าและเทพยนิกร พระนารทมุนีเป็นครูเฒ่าของพวกคนธรรพ์
4. การไหว้ครูดนตรีไทย
4.1 ความสำคัญของการไหว้ครูดนตรีไทย แนว คิดของคนในสังคมไทยต่อครูนับว่ามีความสำคัญอย่างมากครูคือผู้ประสิทธ์ ประสาทวิทยาการต่างๆ ให้แก่ศิษย์ เช่น วิชาด้านหนังสือ วิชาช่างศิลป์ วิชาดนตรี วิชานาฏศิลป์ เป็นต้น ศิษย์จึงต้องนำดอกไม้ธูปเทียนและเครื่องกำนล ไปแสดงความคารวะ มอบให้ครูและฝากตัวเป็นศิษย์ โดยเลือกไปในวันพฤหัสบดีซึ่งถือว่าเป็นวันครูวันนี้จึงเป็นวันที่สำคัญและมี ความหมายที่สุดของการเริ่มเรียนวิชาการดนตรีไทย
การ ไหว้ครูดนตรีไทยนิยมจัดเป็นประจำทุกปีเพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของคุณครู อาจารย์ การทำบุญอุทิศแด่ครู การพบปะสังสรรค์ระหว่างศิษย์ พิธีไหว้ครูดนตรีไทยจึงเป็นพิธีใหญ่มีการตั้งหน้าโขนซึ่งเป็นศีรษะครู เทพเจ้า เครื่องดนตรี มีเครื่องสังเวยบูชากระยาบวช มีครูผู้ใหญ่เป็นพิธีกรประกอบพิธีกรรมไหว้ครู มีบทอ่านโองการคำไหว้ครู มีเพลงหน้าพาทย์บรรเลงตามขั้นตอน
-------หลังพิธีแล้วมีพิธีครอบสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนเพลงครูต่อไป-------
วิชาการ ทางดนตรีไทยนั้น มีแบบแผนต่างๆ มากมาย ดังนั้นผู้ที่จะเข้าใจความเป็นดนตรีไทยได้อย่างลึกซึ้ง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องต่างๆ
สำหรับความรู้พื้นฐานที่ผู้สนใจดนตรีไทยควรทราบ ได้แก่
* ประวัติดนตรีไทย
* เครื่องดนตรีไทย
* การประสมวงดนตรีไทย
* จังหวะเพลงไทย
* ประเภทของเพลงไทย
* การบันทึกโน้ตดนตรีไทย
* แบบแผนการบรรเลงดนตรีไทย
* พิธีกรรมในการดนตรีไทย
* ขั้นตอน หรือ ลำดับชั้นของการเรียนดนตรีไทย
1. ความหมายและประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย
1.1 ความหมายของดนตรีไทย
ดนตรีไทย หมายถึง เพลงไทยที่มีระดับเสียงซึ่งประกอบขึ้นเป็นทำนองมีลีลา จังหวะ มีความเสนาะไพเราะ ก่อให้เกิดความรู้สึกรื่นเริง สนุกสนาน รัก อ่อนหวาน ให้ความสุข เศร้าโศก ปลุกจิตใจให้ฮึกเหิม เป็นต้น
ดนตรีไทย มีความสำคัญต่อการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นิยมให้มีวงดนตรีไทยร่วมบรรเลงด้วย เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญ งานบวชนาค งานมงคลสมรส งานเฉลิมฉลอง งานในเทศกาลต่างๆ ตลอดจนการบรรเลงประกอบการแสดง เป็นต้น
1.2 ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย
ดนตรีไทย เป็นดนตรีที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้น ใช้บรรเลงในกิจกรรมต่างๆ ของสังคมที่ตนอาศัยอยู่ เช่น บรรเลงเพื่อประกอบพิธีตามความเชื่อ และเพื่อประกอบการแสดง
1.3 องค์ประกอบของดนตรีไทย
ดนตรีที่มีความไพเราะน่าฟังจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1.3.1 เสียงดนตรี เป็นเสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วเสียงดนตรีเกิดจากเสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์
1.3.2 ทำนอง หมายถึง เสียงต่ำ เสียงสูง เสียงสั้น เสียงยาว เสียงทุ้ม เสียงแหลมของดนตรีหรือบทเพลง
1.3.3 จังหวะ หมายถึง การเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอ จังหวะจะเป็นตัวกำกับเพื่อให้การร้องเพลงหรือการเล่นดนตรีออกมาในลักษณะที่พร้อมเพรียงกัน
1.3.4 การประสานเสียง เสียงของเครื่องดนตรีและเสียงร้องเพลงของมนุษย์ที่มีระดับเสียงต่างกันเปล่งเสียงออกมาพร้อมกัน เช่น การร้องเพลงพร้อมกับการเล่นกีตาร์คอร์ดประสานเสียงร้อง เป็นต้น
2. แนวทำนองเพลงไทย
เพลงไทยมีแนวทำนองที่ก่อให้เกิดความรู้สึกที่สามารถสัมผัสอารมณ์เพลงได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
2.1 เพลงที่ให้ความรู้สึกขลัง น่าเคารพ เช่น เพลงสาธุการ เพลงมหาฤกษ์ เพลงมหาชัย เป็นต้น
2.2 เพลงที่ให้ความรู้สึกรื่นเริงสนุกสนาน เช่น เพลงค้างคาวกินกล้วย เพลงเขมรไล่ควาย เป็นต้น
2.3 เพลงที่ให้ความรู้สึกรักอ่อนหวาน เช่น เพลงลาวดวงเดือน เพลงชมโฉม เป็นต้น
2.4 เพลงที่ให้ความรู้สึกสุขใจจากสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เช่น เพลงคลื่นกระทบฝั่งสามชั้น เพลงเขมรไทรโยค เป็นต้น
2.5 เพลงที่ให้ความรู้สึกเศร้าโศก เช่น เพลงธรณีกรรแสง เพลงมอญร้องไห้ เป็นต้น
2.6 เพลงที่ให้ความรู้สึกฮึกเหิม องอาจ เร้าใจ เช่น เพลงกราวใน เพลงกราวนอก เป็นต้น
3. ครูเทพเจ้าของดนตรีไทย
ครูเทพเจ้าที่ศิลปินนักดนตรีไทยเคารพนับถือมีหลายองค์ ตามแนวของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ความเชื่อการแสดงความเคารพนับถือ เป็นความกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อเทพเจ้าแห่งดนตรี สร้าง
งานศิลปะดนตรีเป็นเลิศในการบรรเลงเพลงด้วยเครื่องดนตรีและการขับร้อง
3.1 พระวิศณุกรรม เป็นเจ้าแห่งช่างทุกประเภททั้งช่างเขียน ช่างปั้น ช่างก่อสร้าง ในคัมภีร์นาฏศาสตร์ตอนที่พระภรตฤษีรับเทวโองการจากพระมหาพรหม ให้เริ่มวิธีการแสดงละคร พระภรตฤษีได้ขอให้พระวิศณุกรรมสร้างโรงละคร พระวิศณุกรรมจึงออกแบบสร้างโรงละครไว้ และสอนให้ชาวเมืองมนุษย์รู้จักร้องรำทำเพลง
3.2 พระปัญจสีขร เทพเจ้าผู้มีความเป็นเลิศด้านการดีดพิณและการขับลำ ในอดีตชาติพระปัญจสีขรเป็นเด็กเลี้ยงโคไว้ผม 5 แหยม มีชื่อเรียกว่า “ปัญจสิขะ” เป็น ผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในการสร้างกุศล ได้สร้างการสาธารณสถาน เช่น ศาลา สระน้ำ ถนน ยานพาหนะ แต่ต้องตายขณะอยู่ในวัยหนุ่ม จึงไปเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจาตุมหาราช มีร่างกายเป็นสีทอง มีมงกุฎห้ายอด
3.3 พระปรคนธรรพ เทพเจ้า ผู้เป็นยอดแห่งคนธรรพ์ นามที่แท้จริง คือ พระนารทมุนี เป็นผู้คิดและสร้างพิณคันแรกขึ้น มีความชำนาญในการขับร้องและบรรเลงดนตรีทำหน้าที่เป็นพนักงานขับร้องและ บรรเลงดนตรีกล่อมพระเป็นเจ้าและเทพยนิกร พระนารทมุนีเป็นครูเฒ่าของพวกคนธรรพ์
4. การไหว้ครูดนตรีไทย
4.1 ความสำคัญของการไหว้ครูดนตรีไทย แนว คิดของคนในสังคมไทยต่อครูนับว่ามีความสำคัญอย่างมากครูคือผู้ประสิทธ์ ประสาทวิทยาการต่างๆ ให้แก่ศิษย์ เช่น วิชาด้านหนังสือ วิชาช่างศิลป์ วิชาดนตรี วิชานาฏศิลป์ เป็นต้น ศิษย์จึงต้องนำดอกไม้ธูปเทียนและเครื่องกำนล ไปแสดงความคารวะ มอบให้ครูและฝากตัวเป็นศิษย์ โดยเลือกไปในวันพฤหัสบดีซึ่งถือว่าเป็นวันครูวันนี้จึงเป็นวันที่สำคัญและมี ความหมายที่สุดของการเริ่มเรียนวิชาการดนตรีไทย
การ ไหว้ครูดนตรีไทยนิยมจัดเป็นประจำทุกปีเพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของคุณครู อาจารย์ การทำบุญอุทิศแด่ครู การพบปะสังสรรค์ระหว่างศิษย์ พิธีไหว้ครูดนตรีไทยจึงเป็นพิธีใหญ่มีการตั้งหน้าโขนซึ่งเป็นศีรษะครู เทพเจ้า เครื่องดนตรี มีเครื่องสังเวยบูชากระยาบวช มีครูผู้ใหญ่เป็นพิธีกรประกอบพิธีกรรมไหว้ครู มีบทอ่านโองการคำไหว้ครู มีเพลงหน้าพาทย์บรรเลงตามขั้นตอน
-------หลังพิธีแล้วมีพิธีครอบสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนเพลงครูต่อไป-------
วิชาการ ทางดนตรีไทยนั้น มีแบบแผนต่างๆ มากมาย ดังนั้นผู้ที่จะเข้าใจความเป็นดนตรีไทยได้อย่างลึกซึ้ง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องต่างๆ
สำหรับความรู้พื้นฐานที่ผู้สนใจดนตรีไทยควรทราบ ได้แก่
* ประวัติดนตรีไทย
* เครื่องดนตรีไทย
* การประสมวงดนตรีไทย
* จังหวะเพลงไทย
* ประเภทของเพลงไทย
* การบันทึกโน้ตดนตรีไทย
* แบบแผนการบรรเลงดนตรีไทย
* พิธีกรรมในการดนตรีไทย
* ขั้นตอน หรือ ลำดับชั้นของการเรียนดนตรีไทย
หลักการฟัง
1. หลักการฟังและวิเคราะห์เสียงดนตรี
เสียงดนตรี คือ เสียงการขับร้องและเสียงการบรรเลงเครื่องดนตรีซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. เสียงทำนองเพลง คือ เสียงหลักของบทเพลง
2. เสียงประสาน คือ เสียงที่บรรเลงหรือขับร้องผสมผสานกับเสียงหลัก
3. เสียงจังหวะประกอบ คือ เสียงบรรเลงโดยใช้เครื่องดนตรีประกอบจังหวะเพื่อใช้กำกับจังหวะให้เป็นไปตามรูปแบบที่ต้องการ
หลักการฟังดนตรี
การฟังดนตรีของคนส่วนใหญ่ มักฟังเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินหรือฟังเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ ในบางครั้งอาจไม่ได้รับรู้ถึงความไพเราะของเพลงซึ่งถ้ามีหลักในการฟังที่ดี จะทำให้ได้รับรู้ถึงความไพเราะของเพลงได้มากขึ้น
หลักการฟังดนตรีมี 2 ประการ คือ
1. ฟังอย่างตั้งใจ เป็นการฟังเพื่อจำแนกเสียงดนตรีว่าเสียงที่ได้ยินนั้น เป็นทำนองของเพลงใด ใช้ทำนองใดเป็นหลัก มีแนวการประสานเสียงอย่างไร และจังหวะเป็นรูปแบบใด รวมทั้งแยกแยะและบอกชนิดเครื่องดนตรีที่บรรเลงได้
2. ฟังอย่างเข้าใจ เป็นการฟังโดยศึกษาองค์ประกอบของเสียงดนตรีหรือบทเพลงที่ฟัง คือ จังหวะ ทำนอง การประสานเสียง และรูปแบบของเพลงให้พิจารณาว่าองค์ประกอบครบถ้วนหรือมีความสัมพันธ์สอดคล้อง กันอย่างไรบ้าง
2. การรับรู้เรื่ององค์ประกอบและความไพเราะของดนตรี
การฟังเสียงดนตรีตามหลักการฟังนั้น นักเรียนจำเป็นต้องรับรู้ถึงองค์ประกอบของดนตรีและความไพเราะของดนตรีและบทเพลง ดังนี้
1. องค์ประกอบของดนตรี บทเพลงหรือเสียงดนตรีจะต้องมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1. จังหวะ คือ ความช้า-เร็วของบทเพลง
2. ทำนอง คือ เสียงสูง-ต่ำ ที่ถูกเรียบเรียงให้อยู่แนวระดับต่าง ๆ
3. การประสานเสียง คือ การขับร้องและบรรเลงดนตรีพร้อม ๆ กัน หรือการขับร้องเป็นหมู่คณะ
4. รูปแบบของบทเพลง คือ โครงสร้างของบทเพลงที่ออกแบบตามจังหวะและทำนองของเพลง
2. ความไพเราะของเสียงดนตรีและบทเพลง
ความไพเราะเป็นความรู้สึกที่มีต่อการฟังเพลงของแต่ละคน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่จะบ่งบอกว่า เพลงที่ฟังนั้นมีความไพเราะหรือไม่ เช่น ประสบการณ์ของผู้ฟัง ความรู้เกี่ยวกับบทเพลงของผู้ฟัง เป็นต้น
1. ความไพเราะของเสียงดนตรี เป็นความไพเราะของเสียงการขับร้อง และเสียงการบรรเลงดนตรีโดยใช้ทำนองหลัก เสียงขับร้อง เสียงของเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประสานเสียง และส่วนประกอบอื่น ๆ
2. ความไพเราะของบทเพลง เป็นความไพเราะตามประเภทของบทเพลง เช่น เพลงไทย เพลงลูกทุ่ง เพลงไทยสากล เพลงร็อก เป็นต้น
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สีมหาศาล และคณะ. ศิลปะ ป.3. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศ
เสียงดนตรี คือ เสียงการขับร้องและเสียงการบรรเลงเครื่องดนตรีซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. เสียงทำนองเพลง คือ เสียงหลักของบทเพลง
2. เสียงประสาน คือ เสียงที่บรรเลงหรือขับร้องผสมผสานกับเสียงหลัก
3. เสียงจังหวะประกอบ คือ เสียงบรรเลงโดยใช้เครื่องดนตรีประกอบจังหวะเพื่อใช้กำกับจังหวะให้เป็นไปตามรูปแบบที่ต้องการ
หลักการฟังดนตรี
การฟังดนตรีของคนส่วนใหญ่ มักฟังเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินหรือฟังเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ ในบางครั้งอาจไม่ได้รับรู้ถึงความไพเราะของเพลงซึ่งถ้ามีหลักในการฟังที่ดี จะทำให้ได้รับรู้ถึงความไพเราะของเพลงได้มากขึ้น
หลักการฟังดนตรีมี 2 ประการ คือ
1. ฟังอย่างตั้งใจ เป็นการฟังเพื่อจำแนกเสียงดนตรีว่าเสียงที่ได้ยินนั้น เป็นทำนองของเพลงใด ใช้ทำนองใดเป็นหลัก มีแนวการประสานเสียงอย่างไร และจังหวะเป็นรูปแบบใด รวมทั้งแยกแยะและบอกชนิดเครื่องดนตรีที่บรรเลงได้
2. ฟังอย่างเข้าใจ เป็นการฟังโดยศึกษาองค์ประกอบของเสียงดนตรีหรือบทเพลงที่ฟัง คือ จังหวะ ทำนอง การประสานเสียง และรูปแบบของเพลงให้พิจารณาว่าองค์ประกอบครบถ้วนหรือมีความสัมพันธ์สอดคล้อง กันอย่างไรบ้าง
2. การรับรู้เรื่ององค์ประกอบและความไพเราะของดนตรี
การฟังเสียงดนตรีตามหลักการฟังนั้น นักเรียนจำเป็นต้องรับรู้ถึงองค์ประกอบของดนตรีและความไพเราะของดนตรีและบทเพลง ดังนี้
1. องค์ประกอบของดนตรี บทเพลงหรือเสียงดนตรีจะต้องมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1. จังหวะ คือ ความช้า-เร็วของบทเพลง
2. ทำนอง คือ เสียงสูง-ต่ำ ที่ถูกเรียบเรียงให้อยู่แนวระดับต่าง ๆ
3. การประสานเสียง คือ การขับร้องและบรรเลงดนตรีพร้อม ๆ กัน หรือการขับร้องเป็นหมู่คณะ
4. รูปแบบของบทเพลง คือ โครงสร้างของบทเพลงที่ออกแบบตามจังหวะและทำนองของเพลง
2. ความไพเราะของเสียงดนตรีและบทเพลง
ความไพเราะเป็นความรู้สึกที่มีต่อการฟังเพลงของแต่ละคน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่จะบ่งบอกว่า เพลงที่ฟังนั้นมีความไพเราะหรือไม่ เช่น ประสบการณ์ของผู้ฟัง ความรู้เกี่ยวกับบทเพลงของผู้ฟัง เป็นต้น
1. ความไพเราะของเสียงดนตรี เป็นความไพเราะของเสียงการขับร้อง และเสียงการบรรเลงดนตรีโดยใช้ทำนองหลัก เสียงขับร้อง เสียงของเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประสานเสียง และส่วนประกอบอื่น ๆ
2. ความไพเราะของบทเพลง เป็นความไพเราะตามประเภทของบทเพลง เช่น เพลงไทย เพลงลูกทุ่ง เพลงไทยสากล เพลงร็อก เป็นต้น
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สีมหาศาล และคณะ. ศิลปะ ป.3. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศ
แบบทดสอบ
แบบทดสอบความรู้ทางดนตรีไทย
1. ดนตรีไทยควรจัดอยู่ในข้อใดมากที่สุด
ก. เป็นวัฒนธรรมไทย
[ข]. เป็นศิลปะประจำชาติ
ค. เป็นมรดกของไทย
ง. เป็นภูมิปัญญาไทย
2. “ อันเพลงไทยใช่จะไร้ในคุณค่า หรือด้อยกว่าเขาอื่นนั้นหาไม่
เพลงของเราก็เสนาะเพราะจับใจ ทั้งยังเป็นสมบัติไทยสืบเนื่องมา”
จากบทพระราชนิพนธ์ นี้ แสดงว่าดนตรีไทยเป็นอย่างไร
[ก]. ดนตรีไทยมีความไพเราะไม่แพ้ดนตรีสากล
ข. ดนตรีไทยเหมือนกับดนตรีสากล
ค. ดนตรีไทยมีคุณค่า
ง. ดนตรีไทยเป็นเอกลักษณ์ไทย
3. ข้อใด ไม่ใช่ ชื่อเพลงไทย
ก. เขมรราชบุรี
ข. แขกลพบุรี
ค. ตลุงนครศรีธรรมราช
[ง]. ลาวเชียงใหม่
4. นักเรียนคิดว่าจะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ดนตรีไทยได้ในข้อใดเหมาะสมที่สุด
ก. เล่นดนตรีไทยให้เก่ง
ข. ทำพิธีครอบครู
[ค]. ให้ความสนใจฟังเพลงไทย
ง. ช่วยซื้อเครื่องดนตรีไทย
5. นักเรียนคิดว่าวิธีเผยแพร่ดนตรีไทยให้เป็นที่แพร่หลายเพื่อให้คนเห็นคุณค่าควรเป็นข้อใด
[ก]. มีรายการดนตรีไทยทางโทรทัศน์ให้มากขึ้น
ข. ทำเทป-ซีดีเพลงไทยเผยแพร่
ค. จัดประกวดดนตรีไทย
ง. จัดค่ายอบรมดนตรีไทย
6. วงดนตรีไทยที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ และประกอบการแสดง ได้แก่วงประเภทใด
[ก]. วงปี่พาทย์
ข. วงมโหรี
ค. วงเครื่องสาย
ง. วงดุริยางค์
7. ข้อใด ไม่จัด เป็นเครื่องดนตรีไทย
ก. ปี่มอญ
ข. กลองแขก
[ค]. ขิม
ง. ปี่ชวา
8. ใครคือศิลปินแห่งชาติสาขาดนตรีไทย
[ก]. นายมนตรี ตราโมท
ข. ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์
ค. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ง. หลวงประดิษฐ์ไพเราะ
9. ขลุ่ยที่นักเรียนใช้ เรียกว่าขลุ่ยอะไร
ก. ขลุ่ยหลิบ
[ข]. ขลุ่ยเพียงออ
ค. ขลุ่ยอู้
ง. ขลุ่ยไทย
10. รูสำหรับเปิดปิดนิ้วของขลุ่ยมีกี่รู
ก. 6 รู
ข. 7 รู
[ค]. 8 รู
ง. 9 รู
11. วงดนตรีไทยวงใดที่นำมาเล่นผสมกับดนตรีสากลได้ดี
ก. วงคำหวาน
[ข]. วงฟองน้ำ
ค. วงกอไผ่
ง. วงคาราบาว
12. คือภาพของเครื่องดนตรีชนิดใด

ก. ตะโพน
ข. กลองยาว
ค. เปิงมาง
[ง]. กลองสองหน้า
13. คือภาพเครื่องดนตรีชนิดใด

ก. โปงลาง
[ข]. ระนาดทุ้ม
ค. ระนาดเอก
ง. ระนาดทุ้มเหล็ก
14. คือภาพเครื่องดนตรีชนิดใด

[ก]. ปี่ชวา
ข. ปี่มอญ
ค. ปี่ใน
ง. ปี่อ้อ
15. คือภาพเครื่องดนตรีชนิดใด
ก. ซอด้วง
[ข]. ซออู้
ค. ซอสามสาย
ง. สะล้อ
1. ดนตรีไทยควรจัดอยู่ในข้อใดมากที่สุด
ก. เป็นวัฒนธรรมไทย
[ข]. เป็นศิลปะประจำชาติ
ค. เป็นมรดกของไทย
ง. เป็นภูมิปัญญาไทย
2. “ อันเพลงไทยใช่จะไร้ในคุณค่า หรือด้อยกว่าเขาอื่นนั้นหาไม่
เพลงของเราก็เสนาะเพราะจับใจ ทั้งยังเป็นสมบัติไทยสืบเนื่องมา”
จากบทพระราชนิพนธ์ นี้ แสดงว่าดนตรีไทยเป็นอย่างไร
[ก]. ดนตรีไทยมีความไพเราะไม่แพ้ดนตรีสากล
ข. ดนตรีไทยเหมือนกับดนตรีสากล
ค. ดนตรีไทยมีคุณค่า
ง. ดนตรีไทยเป็นเอกลักษณ์ไทย
3. ข้อใด ไม่ใช่ ชื่อเพลงไทย
ก. เขมรราชบุรี
ข. แขกลพบุรี
ค. ตลุงนครศรีธรรมราช
[ง]. ลาวเชียงใหม่
4. นักเรียนคิดว่าจะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ดนตรีไทยได้ในข้อใดเหมาะสมที่สุด
ก. เล่นดนตรีไทยให้เก่ง
ข. ทำพิธีครอบครู
[ค]. ให้ความสนใจฟังเพลงไทย
ง. ช่วยซื้อเครื่องดนตรีไทย
5. นักเรียนคิดว่าวิธีเผยแพร่ดนตรีไทยให้เป็นที่แพร่หลายเพื่อให้คนเห็นคุณค่าควรเป็นข้อใด
[ก]. มีรายการดนตรีไทยทางโทรทัศน์ให้มากขึ้น
ข. ทำเทป-ซีดีเพลงไทยเผยแพร่
ค. จัดประกวดดนตรีไทย
ง. จัดค่ายอบรมดนตรีไทย
6. วงดนตรีไทยที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ และประกอบการแสดง ได้แก่วงประเภทใด
[ก]. วงปี่พาทย์
ข. วงมโหรี
ค. วงเครื่องสาย
ง. วงดุริยางค์
7. ข้อใด ไม่จัด เป็นเครื่องดนตรีไทย
ก. ปี่มอญ
ข. กลองแขก
[ค]. ขิม
ง. ปี่ชวา
8. ใครคือศิลปินแห่งชาติสาขาดนตรีไทย
[ก]. นายมนตรี ตราโมท
ข. ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์
ค. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ง. หลวงประดิษฐ์ไพเราะ
9. ขลุ่ยที่นักเรียนใช้ เรียกว่าขลุ่ยอะไร
ก. ขลุ่ยหลิบ
[ข]. ขลุ่ยเพียงออ
ค. ขลุ่ยอู้
ง. ขลุ่ยไทย
10. รูสำหรับเปิดปิดนิ้วของขลุ่ยมีกี่รู
ก. 6 รู
ข. 7 รู
[ค]. 8 รู
ง. 9 รู
11. วงดนตรีไทยวงใดที่นำมาเล่นผสมกับดนตรีสากลได้ดี
ก. วงคำหวาน
[ข]. วงฟองน้ำ
ค. วงกอไผ่
ง. วงคาราบาว
12. คือภาพของเครื่องดนตรีชนิดใด

ก. ตะโพน
ข. กลองยาว
ค. เปิงมาง
[ง]. กลองสองหน้า
13. คือภาพเครื่องดนตรีชนิดใด

ก. โปงลาง
[ข]. ระนาดทุ้ม
ค. ระนาดเอก
ง. ระนาดทุ้มเหล็ก
14. คือภาพเครื่องดนตรีชนิดใด

[ก]. ปี่ชวา
ข. ปี่มอญ
ค. ปี่ใน
ง. ปี่อ้อ
15. คือภาพเครื่องดนตรีชนิดใด

ก. ซอด้วง
[ข]. ซออู้
ค. ซอสามสาย
ง. สะล้อ
การประยุกต์ใช้
ดนตรี - นาฎศิลป์กับชีวิตประจำวัน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในบทละครพูดสลับลำ
เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ศิลปะนั้นไม่ว่าแขนงใด ย่อมมีความสำคัญทั้งนั้น
ผู้ที่ขาดการศึกษาจะไม่ทราบว่าศิลปะ สำคัญฯต่อมนุษย์เพียงใด กวีและปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกหลายคน
เห็นคุณค่าของศิลปะอย่างยิ่ง และเกิดความบันดาลใจจนต้องแสดงออกมาทางดนตรีและการแสดงท่าทาง
" เช็คสเปียร์" กวีเอกชาวอังกฤษ ได้กล่าวถึงศิลปะการดนตรีและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงแปลเป็นไทยว่าดังนี้
"ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดาลเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดกกบฏอัปลักษณ์
หรืออุบายมุ่งร้ายฉมังนัก มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี
และดวงใจย่อมดำสกปรก ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี่"
ศิลปะกับชีวิต ทำให้นำศิลปะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์
ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความสามารถในการปฏิบัติงาน มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวินัยในตนเอง
เห็นคุณค่าความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถสร้างสรรค์ผลงานตามความถนัด
นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสังคม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในบทละครพูดสลับลำ
เรื่องหนามยอกเอาหนามบ่ง ศิลปะนั้นไม่ว่าแขนงใด ย่อมมีความสำคัญทั้งนั้น
ผู้ที่ขาดการศึกษาจะไม่ทราบว่าศิลปะ สำคัญฯต่อมนุษย์เพียงใด กวีและปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกหลายคน
เห็นคุณค่าของศิลปะอย่างยิ่ง และเกิดความบันดาลใจจนต้องแสดงออกมาทางดนตรีและการแสดงท่าทาง
" เช็คสเปียร์" กวีเอกชาวอังกฤษ ได้กล่าวถึงศิลปะการดนตรีและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงแปลเป็นไทยว่าดังนี้
"ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดาลเป็นคนชอบกลนัก
อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดกกบฏอัปลักษณ์
หรืออุบายมุ่งร้ายฉมังนัก มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี
และดวงใจย่อมดำสกปรก ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี่"
ศิลปะกับชีวิต ทำให้นำศิลปะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์
ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความสามารถในการปฏิบัติงาน มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีวินัยในตนเอง
เห็นคุณค่าความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถสร้างสรรค์ผลงานตามความถนัด
นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสังคม
วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วงดนตรีไทย
เครื่อง ดนตรีหรือเครื่อง ดีด สี ตี เป่า ของไทยที่นิยมเล่นกันมาแต่โบราณนั้น บางชนิดใช้บรรเลงเดี่ยว (คือบรรเลงคนเดียว) เช่น ซอและขลุ่ย และอีกหลายประเภทมีการประสมเป็นวงอยู่แล้ว แต่ยังไม่มี หลักเกณฑ์ที่ ลงตัว ต่อมาการประสมวงมีการพัฒนาขึ้น หลักสำคัญอยู่ที่การเลือกประเภทเครื่องดนตรี และเสียงของเครื่อง ดนตรีแต่ละชิ้น ให้มีเสียงประสานกลมกลืนกันให้เกิดเป็นเสียงดนตรีที่ไพเราะการประสมวงของ ดนตรีไทยมีดังต่อไปนี้
๑ วงเครื่องสาย หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก โดยมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องกำกับจังหวะเป็นส่วนประกอบ
ประเภทของวงเครื่องสาย
๑. วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว (ใช้งานมงคล)
๒.วงเครื่องสายเครื่องคู่ (ใช้งานมงคล)
๓.วงเครื่องสายผสม (ผสมเครื่องดนตรีชาติอื่น) (ใช้งานมงคล)
๔.วงเครื่องสายปี่ชวา (ใช้งานอวมงคล)
วงเครื่องสายที่ใช้ในงานมงคล
๑ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว
* กำหนดให้ซอด้วงอยู่ฝั่งขวามือเป็นหลัก (กรณีตั้งวงจริง)ส่วนเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ จัดตำแหน่งตามรูป *
(ย้อนกลับ)
๒ วงเครื่องสายเครื่องคู่
วงเครื่องสายเครื่องคู่ เพลงสุรินทราหูสามชั้น
วง เครื่องสาย ใช้ในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน ทำบุญบ้าน ทำบุญครบรอบวันเกิด งานเลี้ยงรับรอง งานมงคลต่างๆที่เน้นฟังไพเราะ เบาๆ ไม่เสียงดังใช้ พื้นที่ตั้งวงไม่กว้าง(งานภายในบ้าน) ต้องเลือกชนิดวงเครื่องสายให้เหมาะสมกับพื้นที่จัดงาน (ย้อนกลับ)
๓.วงเครื่องสายผสม (ผสมเครื่องดนตรีชาติอื่น)
ตั้งแต่ ในรัชกาลที่ ๖ มา เมื่อมีผู้นำขิมบ้าง ไวโอลินบ้าง ออร์แกน และเครื่องอื่นๆ บ้าง เข้าเล่นผสมวง จึงเรียกกันว่าเครื่องสายผสมขิม เครื่องสายผสมไวโอลิน เครื่องสายผสมออร์แกน และเมื่อผสมเครื่องดนตรีหลายอย่าง ก็เรียกกันกว้างๆว่า "วงเครื่องสายผสม"
เครื่องสายผสมขิม
วงเครื่องสายผสมขิมเพลง ลาวสวยรวย สามชั้น
(ย้อนกลับ)
วงเครื่องสายที่ใช้ในงานอวมงคล
๔ วงเครื่องสายปี่ชวา
เครื่องสายปี่ชวาเกิดขึ้นในราวปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นวงดนตรีไทยที่เกิดจากการผสมเครื่องดนตรีของวงดนตรีไทย ๒ประเภทเข้าด้วยกัน คือ วงเครื่องสายและวงปี่ชวากลองแขก แล้วตัดเครื่องดนตรีที่เสียงซ้ำกันออก คือ ขลุ่ยเพียงออ และโทนรำมะนาในวงเครื่องสาย เครื่องประกอบจังหวะเหลือเพียงชุดเดียว ดังนั้นวงเครื่องสายปี่ชวาจึงประกอบด้วย ปี่ชวา ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขลุ่ยหลิบ กลองแขก และฉิ่ง
เนื่องจากปี่ชวามีช่วงเสียงที่สูงไปกว่าเครื่องสาย เพลงที่บรรเลงด้วยวงเครื่องสายปี่ชวาจะมีระดับเสียงเฉพาะของตนเอง คือ สูงกว่าระดับเสียงเพลงของวงเครื่องสาย ๔ เสียง ดังนั้นซอด้วงจึงต้องขึ้นสายใหม่ให้เทียบได้กับเสียงของปี่ชวา เครื่องดนตรีอื่นๆ ก็ต้องเปลี่ยนระดับเสียงให้ขึ้นไปเท่ากับเสียงของปี่ชวานอกจากระดับเสียงที่ เป็นเอกลักษณ์แล้ว เพลงที่บรรเลงด้วยวงเครื่องสายปี่ชวาก็เป็นเพลงเฉพาะของวงประเภทนี้เท่านั้น เช่นเพลงโหมโรงราโค ซึ่งตอนท้ายเพลงออกเพลงสระหม่า นอกจากนี้แต่ละเพลงมักมีจังหวะที่รวดเร็วตามลักษณะการบรรเลงของปี่ชวา นักดนตรีคนอื่นๆ ก็ต้องสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีของตนได้อย่างรวดเร็วหรือในวงการดนตรีไทย เรียกว่า “ ไหว ” ปัจจุบันหานักดนตรีที่บรรเลงเพลงได้ในวงเครื่องสายปี่ชวายากเต็มที เนื่องจากสาเหตุสำคัญคือ ” ไม่ได้เพลงที่ใช้บรรเลง”
วงเครื่องสายปี่ชวาเครื่องเดี่ยว
วงเครื่องสายปี่ชวาเครื่องเดี่ยว
วงเครื่องสายปี่ชวา เพลงโหมโรงราโค
๑ วงเครื่องสาย หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก โดยมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องกำกับจังหวะเป็นส่วนประกอบ
ประเภทของวงเครื่องสาย
๑. วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว (ใช้งานมงคล)
๒.วงเครื่องสายเครื่องคู่ (ใช้งานมงคล)
๓.วงเครื่องสายผสม (ผสมเครื่องดนตรีชาติอื่น) (ใช้งานมงคล)
๔.วงเครื่องสายปี่ชวา (ใช้งานอวมงคล)
วงเครื่องสายที่ใช้ในงานมงคล
๑ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว
* กำหนดให้ซอด้วงอยู่ฝั่งขวามือเป็นหลัก (กรณีตั้งวงจริง)ส่วนเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ จัดตำแหน่งตามรูป *
(ย้อนกลับ)
๒ วงเครื่องสายเครื่องคู่
วงเครื่องสายเครื่องคู่ เพลงสุรินทราหูสามชั้น
วง เครื่องสาย ใช้ในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน ทำบุญบ้าน ทำบุญครบรอบวันเกิด งานเลี้ยงรับรอง งานมงคลต่างๆที่เน้นฟังไพเราะ เบาๆ ไม่เสียงดังใช้ พื้นที่ตั้งวงไม่กว้าง(งานภายในบ้าน) ต้องเลือกชนิดวงเครื่องสายให้เหมาะสมกับพื้นที่จัดงาน (ย้อนกลับ)
๓.วงเครื่องสายผสม (ผสมเครื่องดนตรีชาติอื่น)
ตั้งแต่ ในรัชกาลที่ ๖ มา เมื่อมีผู้นำขิมบ้าง ไวโอลินบ้าง ออร์แกน และเครื่องอื่นๆ บ้าง เข้าเล่นผสมวง จึงเรียกกันว่าเครื่องสายผสมขิม เครื่องสายผสมไวโอลิน เครื่องสายผสมออร์แกน และเมื่อผสมเครื่องดนตรีหลายอย่าง ก็เรียกกันกว้างๆว่า "วงเครื่องสายผสม"
เครื่องสายผสมขิม
วงเครื่องสายผสมขิมเพลง ลาวสวยรวย สามชั้น
(ย้อนกลับ)
วงเครื่องสายที่ใช้ในงานอวมงคล
๔ วงเครื่องสายปี่ชวา
เครื่องสายปี่ชวาเกิดขึ้นในราวปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นวงดนตรีไทยที่เกิดจากการผสมเครื่องดนตรีของวงดนตรีไทย ๒ประเภทเข้าด้วยกัน คือ วงเครื่องสายและวงปี่ชวากลองแขก แล้วตัดเครื่องดนตรีที่เสียงซ้ำกันออก คือ ขลุ่ยเพียงออ และโทนรำมะนาในวงเครื่องสาย เครื่องประกอบจังหวะเหลือเพียงชุดเดียว ดังนั้นวงเครื่องสายปี่ชวาจึงประกอบด้วย ปี่ชวา ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขลุ่ยหลิบ กลองแขก และฉิ่ง
เนื่องจากปี่ชวามีช่วงเสียงที่สูงไปกว่าเครื่องสาย เพลงที่บรรเลงด้วยวงเครื่องสายปี่ชวาจะมีระดับเสียงเฉพาะของตนเอง คือ สูงกว่าระดับเสียงเพลงของวงเครื่องสาย ๔ เสียง ดังนั้นซอด้วงจึงต้องขึ้นสายใหม่ให้เทียบได้กับเสียงของปี่ชวา เครื่องดนตรีอื่นๆ ก็ต้องเปลี่ยนระดับเสียงให้ขึ้นไปเท่ากับเสียงของปี่ชวานอกจากระดับเสียงที่ เป็นเอกลักษณ์แล้ว เพลงที่บรรเลงด้วยวงเครื่องสายปี่ชวาก็เป็นเพลงเฉพาะของวงประเภทนี้เท่านั้น เช่นเพลงโหมโรงราโค ซึ่งตอนท้ายเพลงออกเพลงสระหม่า นอกจากนี้แต่ละเพลงมักมีจังหวะที่รวดเร็วตามลักษณะการบรรเลงของปี่ชวา นักดนตรีคนอื่นๆ ก็ต้องสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีของตนได้อย่างรวดเร็วหรือในวงการดนตรีไทย เรียกว่า “ ไหว ” ปัจจุบันหานักดนตรีที่บรรเลงเพลงได้ในวงเครื่องสายปี่ชวายากเต็มที เนื่องจากสาเหตุสำคัญคือ ” ไม่ได้เพลงที่ใช้บรรเลง”
วงเครื่องสายปี่ชวาเครื่องเดี่ยว
วงเครื่องสายปี่ชวาเครื่องเดี่ยว
วงเครื่องสายปี่ชวา เพลงโหมโรงราโค
ทฤษฎี
ตัวโน้ต
โน้ต ใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนดนตรี ใช้เป็นตัวกลางสื่อเสียงดนตรีให้มีความเข้าใจตรงกันระหว่างครูผู้สอนกับนัก เรียน และยังเป็นสัญลักษณ์ให้นักเรียน บันทึกบทเพลง เพื่อใช้เป็นการทบทวนด้วยตนเองได้
โน้ตตัวพยัญชนะ ที่ใช้เรียนดนตรีไทย มีสัญลักษณ์แทนเสียงดังนี้
ด แทนเสียง โด
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงโดสูง ดํ มีจุดข้างล่างหมายถึงโดเสียงต่ำ ดฺ
ร แทนเสียง เร
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงเรสูง รํ มีจุดข้างล่างหมายถึงโดเสียงต่ำ รฺ
ม แทนเสียง มี
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียง มีเสียงสูง มํ มีจุดข้างล่างหมายถึง มีเสียงต่ำ มฺ
ฟ แทนเสียง ฟา
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงฟาสูง ฟํ มีจุดข้างล่างหมายถึงฟา เสียงต่ำ ฟฺ
ซ แทนเสียง ซอล
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงซอล สูง ซํ มีจุดข้างล่างหมายถึงซอล เสียงต่ำ ซฺ
ล แทนเสียง ลา
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงลา สูง ลํ มีจุดข้างล่างหมายถึงลาเสียงต่ำ ลฺ
ท แทนเสียง ที
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงที สูง ทํ มีจุดข้างล่างหมายถึงที เสียงต่ำ ทฺ
ห้องเพลงที่ใช้บันทึก
๑ . หนึ่งบรรทัดมี แปด ห้องเพลง
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
๒. หนึ่งห้องเพลง มี สี่ตัวโน้ต (ขั้นพื้นฐาน)
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๓ . ใช้เส้นน้อยแทน ตัวโน้ตในห้อง
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
* โน้ตใน ๑ ห้องเพลงสามารถมีมากกว่า ๔ ตัวโน้ตได้ เป็นการอ่านโน้ตในระดับสูงขึ้น *
เทคนิคการอ่านโน้ตของดนตรีไทย
๑ เคาะจังหวะสามัญ (จังหวะอย่างสม่ำเสมอ แบบ ช้า )
๒ ตัวโน้ตที่ ๔ ของห้องจะอ่านพร้อมจังหวะเคาะ
การอ่านโน้ตแบบต่างๆ
ตัวโน้ต จบพร้อมจังหวะ
- - - ดฺ
- - - รฺ
- - - มฺ
- - - ฟ
- - - ซ
- - - ล
- - - ทํ
- - - ดํ
แบบ ๑ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)
ดฺ - - -
รฺ - - -
มฺ - - -
ฟ - - -
ซ - - -
ล - - -
ทํ - - -
ดํ - - -
แบบ๒ ตัวโน้ต จบพร้อมจังหวะ
- ดฺ - ร
- ม - ฟ
- ซ - ล
- ท - ดํ
- ดํ - ท
- ล - ซ
- ฟ - ม
- ร - ดฺ
แบบ๒ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)
- ดฺ ร -
- ม ฟ -
- ซ ล -
- ท ดํ -
- ดํ ท -
- ล ซ -
- ฟ ม -
- ร ดฺ -
แบบ๒ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)
ดฺ ดฺ - -
ร ร - -
ม ม - -
ฟ ฟ - -
ซ ซ - -
ล ล - -
ท ท - -
ดํ ดํ - -
แบบ๒ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ
- - ดฺ ดฺ
- - ร ร
- - ม ม
- - ฟ ฟ
- - ซ ซ
- - ล ล
- - ท ท
- - ดํ ดํ
แบบ ๓ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ
- ดฺ ร ม
- ร ม ฟ
- ม ฟ ซ
- ฟ ซ ล
- ซ ล ท
- ล ท ดํ
- ท ดํ รํ
- ดํ รํ มํ
แบบ ๓ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)
มํ รํ ดํ -
รํ ดํ ท -
ดํ ท ล -
ท ล ซ -
ล ซ ฟ -
ซ ฟ ม -
ฟ ม ร -
ม ร ดฺ -
แบบ ๓ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ
ดฺ - ร ม
ร - ม ฟ
ม - ฟ ซ
ฟ – ซ ล
ซ - ล ท
ล - ท ดํ
ท - ดํ รํ
ดํ - รํ มํ
แบบ ๓ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ
มํ รํ - ดํ
รํ ดํ - ท
ดํ ท – ล
ท ล - ซ
ล ซ - ฟ
ซ ฟ - ม
ฟ ม - ร
ม ร - ดฺ
แบบ๔ ตัวโน้ต จบพร้อมจังหวะ
ดฺ ร ม ฟ
ซ ล ท ดํ
ดํ ท ล ซ
ฟ ม ร ดฺ
ดฺ ร ม ฟ
ซ ล ท ดํ
ดํ ท ล ซ
ฟ ม ร ดฺ
* การอ่านโน้ตนักเรียนจะต้องใช้เสียงที่อ่านให้มีระดับเสียงที่แตกต่างกัน ลดหลั่น หรือสูงขึ้น ไปตามเสียงโน้ตนั้น จะ ไม่อ่านโน้ตทุกตัวในระดับเสียงเดียวกัน
----------------------------------------------------------------------------------
จังหวะในเพลงไทยเดิม แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑ .จังหวะสามัญ หมายถึง จังหวะอย่างสม่ำเสมอที่จะต้องยึดถือเป็นหลักในการขับร้องและบรรเลง แม้ว่าจะ ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องให้สัญญาณจังหวะ ก็จะต้องมีจังหวะอยู่ในความรู้สึกตลอดเวลา
๒.จังหวะ ฉิ่ง ใช้พื้นฐานเดียวกับจังหวะสามัญ เป็นการแบ่งจังหวะด้วยฉิ่ง โดยปกติจะตีสลับกัน เป็น ฉิ่ง - ฉับ แต่ใช้เสียงฉิ่งกำหนดเสียงแทนการเคาะหรือตบมือ เพื่อให้ทราบว่ากำลังบรรเลงในอัตราจังหวะ สามชั้น สองชั้น หรือชั้นเดียว
๓.จังหวะหน้าทับ หมายถึงการตีกลองควบคุมจังหวะ วิธีการกำกับจังหวะหน้าทับคือ เราใช้จำนวนห้องโน้ตหรือ จำนวนบรรทัดของโน้ตหน้าทับ เป็นเกณฑ์ในการกำกับและนับจังหวะทำนองเพลง
จังหวะฉิ่ง
ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีใช้สำหรับกำกับจังหวะ เบาและหนัก ของบทเพลง มี ๓ อัตราจังหวะ
๑.จังหวะสามชั้น ( จังหวะช้า)
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ฉับ
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ฉับ
๒.จังหวะสองชั้น (จังหวะปานกลาง)
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ฉับ
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ฉับ
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ฉับ
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ฉับ
๓.จังหวะชั้นเดียว (จังหวะเร็ว)
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
จังหวะหน้าทับ (กลองแขก – โทนรำมะนา) ที่นักเรียนใช้กำกับจังหวะบทเพลงต่างๆ ในหลักสูตรวิชาดนตรีไทย โรงเรียนอำนวยศิลป์
สองไม้ลาว สองชั้น
- ติง – โจ๊ะ
- ติง - ติง
- - ติงทั่ง
- ติง - ทัง
สองไม้ไทย (ทยอย สองชั้น)
- - โจ๊ะจ๊ะ
ติงติง - ติง
- - โจ๊ะจ๊ะ
ติงติง - ทั่ง
หน้าทับสำเนียงฝรั่ง
- ติงติงติง
- ติง -ทั่ง
- ติง -ทั่ง
- ติง -ทั่ง
ปรบไก่สองชั้น
-ทั่ง - ติง
-โจ๊ะ-จ๊ะ
-โจ๊ะ-จ๊ะ
-โจ๊ะ-จ๊ะ
-ติง–ทั่ง
-ติง-ติง
-ทั่ง-ติง
-ติง-ทั่ง
ตัวอย่างการกำกับจังหวะฉิ่งสองชั้นและกำกับจังหวะหน้าทับปรบไก่ ในเพลงแขก บรเทศ สองชั้น
ท่อนที่ ๑
จังหวะฉิ่ง
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
กลอง
-ทั่ง-ติง
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
-ติง–ทั่ง
-ติง-ติง
-ทั่ง-ติง
-ติง-ทั่ง
ทำนอง
- - - ซ
- ล ล ล
- - - ด
- ล ล ล
- ซ ซ ซ
- ล - ซ
- - - ม
- ม ม ม
ทำนอง
- ล ซ ม
- ร - ด
- - ม ร
ด ร - ม
- ซ - ล
- ซ - ม
- - - ร
- - - ด
ท่อนที่ ๒
จังหวะฉิ่ง
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
กลอง
-ทั่ง-ติง
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
-ติง–ทั่ง
-ติง-ติง
-ทั่ง-ติง
-ติง-ทั่ง
ทำนอง
- ด ร ม
ซ ม ร ด
- - - ซ
- - - ล
- - ด ล
ซม ซ ล
- - - ด
- - - ร
ทำนอง
- ล ซ ม
- ร - ด
- - ม ร
ด ร - ม
- ซ - ล
- ซ - ม
- - - ร
- - - ด
* ต่ำแน่งการบรรเลงของทุกเครื่องมือจะต้องเท่ากันทุกครั้ง เหมือนตารางโน้ตที่กำหนด จึงจะถือว่าการบรรเลงของวงดนตรีสมบูรณ์ในเรื่องการกำกับจังหวะ
ตัวอย่างการกำกับจังหวะฉิ่งสองชั้นและกำกับจังหวะหน้าทับสองไม้ลาว
ในเพลง ลาวดวงเดือน สองชั้นรอบที่ ๑
จังหวะฉิ่ง
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
กลอง
-ติง-โจ๊ะ
-ติง-ติง
- - ติงทั่ง
-ติง-ทั่ง
-ติง-โจ๊ะ
-ติง-ติง
- - ติงทั่ง
-ติง-ทั่ง
ทำนอง
- - - -
- - - -
- ด ร ม
- ซ– ด
- - - ร
- ด ด ด
ซลดล
ซ ม - ซ
ทำนอง
- - - ล
ซ ซ ซ ซ
- ม ซ ม
ซ ลด ล
- - ด ล
- ซ – ม
ร มซ ม
ร ด -ร
ทำนอง
- - - ม
ร ร ร ร
ซลซดํ
- ร – ม
- ซ - -
ซ ล ด ร
- ม ซ ร
ม ร ด ล
ทำนอง
- - - -
ซ ล ด ม
ร ด ร ม
- ซ– ล
- - ด ล
ซมซ ล
ซลดล
- ซ ซ ซ
ตัวอย่างการกำกับจังหวะฉิ่งสองชั้นและกำกับจังหวะหน้าทับปรบไก่สองชั้น
ในเพลง มอญรำดาบ สองชั้นท่อนที่ ๑ ทำนอง(ทาง) ระนาดเอก
จังหวะฉิ่ง
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
กลอง
-ทั่ง-ติง
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
-ติง–ทั่ง
-ติง-ติง
-ทั่ง-ติง
-ติง-ทั่ง
ทำนอง
- - - ด
ร ร ร ร
- - - ม
ร ร ร ร
- ด - ร
มรดล
- - -ซ
ดลซฟ
ทำนอง
รมฟซ
ลซฟม
รดรม
รมฟซ
รดมร
ดลซฟ
มรดร
มฟซล
ทำนอง
ซรมร
ซรมฟ
มรดร
มฟซล
ดมรด
มรดล
รดลซ
ดลซฟ
ทำนอง
- ซ –ซ
- - - ร
มรดร
- ม – ฟ
- ฟ ซ ล
- ซ – ฟ
- ล ซ ฟ
- ม - ร
----------------------------------------------------------------------------------
ประเภทของเครื่องดนตรีไทย
การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีนั้นย่อมจะแตกต่างกันไปได้ตามพื้นภูมิ และความนิยมของแต่ ละชาติ ส่วนการแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทยนั้นถือเอากิริยาที่บรรเลงให้เกิดเป็น เสียงขึ้น เป็นเครื่องแบ่งประเภท เช่น
๑ . เครื่องที่ดีดเป็นเสียง เป็นเครื่องที่มีสาย ใช้มือหรือวัตถุใดๆ ดีดที่สายแล้วเกิดเสียงขึ้นเช่นกระจับปี่ จะเข้ อย่างนี้เรียกว่า เครื่องดีด
๒ . เครื่องที่สี เป็นเสียง เป็นเครื่องที่มีสาย ใช้หางม้าหลายๆเส้นสีที่สายให้เกิดเสียง เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ อย่างนี้เรียกว่า เครื่องสี
๓ เครื่องที่ตีเป็นเสียง มีทั้งตีด้วยไม้ตี เช่นฆ้อง ระนาด กับตีด้วยมือ เช่น ตะโพน โทน หรือของสิ่งเดียวกันสองอันตีกันเอง เช่นกรับ และฉิ่ง เหล่านี้ เรียกว่า เครื่องตี
๔ . เครื่องที่เป่าเป็นเสียง เป็นเครื่องที่ต้องใช้ลมเป่าเข้าไปในเครื่องนั้นๆแล้วเกิดเสียง เช่น ปี่ ขลุ่ย อย่างนี้เรียกว่า เครื่องเป่า
รวมแล้วดนตรีไทย มี ๔ ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า
----------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ในการบรรเลง
การแบ่งประเภทดีด สี ตี เป่า นั้นเป็นการแบ่งประเภทของเครื่องดนตรี แต่เครื่องดนตรีนั้นๆ ย่อมมีหน้าที่ในการบรรเลงต่างกัน หลักสำคัญแบ่ง ได้ ๒ ประเภท
๑ บรรเลงทำนองเพลง เป็นพวกที่มีเสียงสูง เสียงต่ำ เรียงลำดับกันไม่น้อยกว่า ๗ เสียง เครื่องดนตรีเหล่านี้มีหน้าที่ บรรเลงเป็นทำนองเพลง เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ฆ้องวงเล็ก ปี่ ขลุ่ย และซอต่างๆ เป็นต้น
๒ . บรรเลงกำกับจังหวะ และประกอบจังหวะ
เป็นพวกที่มีเสียงสูงต่ำไม่ถึง ๗ เสียงเครื่องดนตรีเหล่านี้มีหน้าที่บรรเลงแตกต่างกันดังนี้
๒.๑ เครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง กำกับจังหวะหนักเบาของบทเพลง กลองกำกับจังหวะหน้าทับ(ตรวจสอบบทเพลงว่าขาดหรือเกิน)
๒.๒เครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ เกราะ โกร่ง โหม่ง มีหน้าที่เพิ่มอัถรสในการบรรเลง ให้สนุกและเพิ่มจังหวะของวงให้ชัดเจน มากขึ้น
โน้ต ใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนดนตรี ใช้เป็นตัวกลางสื่อเสียงดนตรีให้มีความเข้าใจตรงกันระหว่างครูผู้สอนกับนัก เรียน และยังเป็นสัญลักษณ์ให้นักเรียน บันทึกบทเพลง เพื่อใช้เป็นการทบทวนด้วยตนเองได้
โน้ตตัวพยัญชนะ ที่ใช้เรียนดนตรีไทย มีสัญลักษณ์แทนเสียงดังนี้
ด แทนเสียง โด
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงโดสูง ดํ มีจุดข้างล่างหมายถึงโดเสียงต่ำ ดฺ
ร แทนเสียง เร
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงเรสูง รํ มีจุดข้างล่างหมายถึงโดเสียงต่ำ รฺ
ม แทนเสียง มี
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียง มีเสียงสูง มํ มีจุดข้างล่างหมายถึง มีเสียงต่ำ มฺ
ฟ แทนเสียง ฟา
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงฟาสูง ฟํ มีจุดข้างล่างหมายถึงฟา เสียงต่ำ ฟฺ
ซ แทนเสียง ซอล
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงซอล สูง ซํ มีจุดข้างล่างหมายถึงซอล เสียงต่ำ ซฺ
ล แทนเสียง ลา
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงลา สูง ลํ มีจุดข้างล่างหมายถึงลาเสียงต่ำ ลฺ
ท แทนเสียง ที
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงที สูง ทํ มีจุดข้างล่างหมายถึงที เสียงต่ำ ทฺ
ห้องเพลงที่ใช้บันทึก
๑ . หนึ่งบรรทัดมี แปด ห้องเพลง
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
๒. หนึ่งห้องเพลง มี สี่ตัวโน้ต (ขั้นพื้นฐาน)
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๓ . ใช้เส้นน้อยแทน ตัวโน้ตในห้อง
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
* โน้ตใน ๑ ห้องเพลงสามารถมีมากกว่า ๔ ตัวโน้ตได้ เป็นการอ่านโน้ตในระดับสูงขึ้น *
เทคนิคการอ่านโน้ตของดนตรีไทย
๑ เคาะจังหวะสามัญ (จังหวะอย่างสม่ำเสมอ แบบ ช้า )
๒ ตัวโน้ตที่ ๔ ของห้องจะอ่านพร้อมจังหวะเคาะ
การอ่านโน้ตแบบต่างๆ
ตัวโน้ต จบพร้อมจังหวะ
- - - ดฺ
- - - รฺ
- - - มฺ
- - - ฟ
- - - ซ
- - - ล
- - - ทํ
- - - ดํ
แบบ ๑ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)
ดฺ - - -
รฺ - - -
มฺ - - -
ฟ - - -
ซ - - -
ล - - -
ทํ - - -
ดํ - - -
แบบ๒ ตัวโน้ต จบพร้อมจังหวะ
- ดฺ - ร
- ม - ฟ
- ซ - ล
- ท - ดํ
- ดํ - ท
- ล - ซ
- ฟ - ม
- ร - ดฺ
แบบ๒ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)
- ดฺ ร -
- ม ฟ -
- ซ ล -
- ท ดํ -
- ดํ ท -
- ล ซ -
- ฟ ม -
- ร ดฺ -
แบบ๒ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)
ดฺ ดฺ - -
ร ร - -
ม ม - -
ฟ ฟ - -
ซ ซ - -
ล ล - -
ท ท - -
ดํ ดํ - -
แบบ๒ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ
- - ดฺ ดฺ
- - ร ร
- - ม ม
- - ฟ ฟ
- - ซ ซ
- - ล ล
- - ท ท
- - ดํ ดํ
แบบ ๓ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ
- ดฺ ร ม
- ร ม ฟ
- ม ฟ ซ
- ฟ ซ ล
- ซ ล ท
- ล ท ดํ
- ท ดํ รํ
- ดํ รํ มํ
แบบ ๓ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)
มํ รํ ดํ -
รํ ดํ ท -
ดํ ท ล -
ท ล ซ -
ล ซ ฟ -
ซ ฟ ม -
ฟ ม ร -
ม ร ดฺ -
แบบ ๓ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ
ดฺ - ร ม
ร - ม ฟ
ม - ฟ ซ
ฟ – ซ ล
ซ - ล ท
ล - ท ดํ
ท - ดํ รํ
ดํ - รํ มํ
แบบ ๓ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ
มํ รํ - ดํ
รํ ดํ - ท
ดํ ท – ล
ท ล - ซ
ล ซ - ฟ
ซ ฟ - ม
ฟ ม - ร
ม ร - ดฺ
แบบ๔ ตัวโน้ต จบพร้อมจังหวะ
ดฺ ร ม ฟ
ซ ล ท ดํ
ดํ ท ล ซ
ฟ ม ร ดฺ
ดฺ ร ม ฟ
ซ ล ท ดํ
ดํ ท ล ซ
ฟ ม ร ดฺ
* การอ่านโน้ตนักเรียนจะต้องใช้เสียงที่อ่านให้มีระดับเสียงที่แตกต่างกัน ลดหลั่น หรือสูงขึ้น ไปตามเสียงโน้ตนั้น จะ ไม่อ่านโน้ตทุกตัวในระดับเสียงเดียวกัน
----------------------------------------------------------------------------------
จังหวะในเพลงไทยเดิม แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑ .จังหวะสามัญ หมายถึง จังหวะอย่างสม่ำเสมอที่จะต้องยึดถือเป็นหลักในการขับร้องและบรรเลง แม้ว่าจะ ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องให้สัญญาณจังหวะ ก็จะต้องมีจังหวะอยู่ในความรู้สึกตลอดเวลา
๒.จังหวะ ฉิ่ง ใช้พื้นฐานเดียวกับจังหวะสามัญ เป็นการแบ่งจังหวะด้วยฉิ่ง โดยปกติจะตีสลับกัน เป็น ฉิ่ง - ฉับ แต่ใช้เสียงฉิ่งกำหนดเสียงแทนการเคาะหรือตบมือ เพื่อให้ทราบว่ากำลังบรรเลงในอัตราจังหวะ สามชั้น สองชั้น หรือชั้นเดียว
๓.จังหวะหน้าทับ หมายถึงการตีกลองควบคุมจังหวะ วิธีการกำกับจังหวะหน้าทับคือ เราใช้จำนวนห้องโน้ตหรือ จำนวนบรรทัดของโน้ตหน้าทับ เป็นเกณฑ์ในการกำกับและนับจังหวะทำนองเพลง
จังหวะฉิ่ง
ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีใช้สำหรับกำกับจังหวะ เบาและหนัก ของบทเพลง มี ๓ อัตราจังหวะ
๑.จังหวะสามชั้น ( จังหวะช้า)
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ฉับ
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ฉับ
๒.จังหวะสองชั้น (จังหวะปานกลาง)
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ฉับ
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ฉับ
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ฉับ
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ฉับ
๓.จังหวะชั้นเดียว (จังหวะเร็ว)
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
จังหวะหน้าทับ (กลองแขก – โทนรำมะนา) ที่นักเรียนใช้กำกับจังหวะบทเพลงต่างๆ ในหลักสูตรวิชาดนตรีไทย โรงเรียนอำนวยศิลป์
สองไม้ลาว สองชั้น
- ติง – โจ๊ะ
- ติง - ติง
- - ติงทั่ง
- ติง - ทัง
สองไม้ไทย (ทยอย สองชั้น)
- - โจ๊ะจ๊ะ
ติงติง - ติง
- - โจ๊ะจ๊ะ
ติงติง - ทั่ง
หน้าทับสำเนียงฝรั่ง
- ติงติงติง
- ติง -ทั่ง
- ติง -ทั่ง
- ติง -ทั่ง
ปรบไก่สองชั้น
-ทั่ง - ติง
-โจ๊ะ-จ๊ะ
-โจ๊ะ-จ๊ะ
-โจ๊ะ-จ๊ะ
-ติง–ทั่ง
-ติง-ติง
-ทั่ง-ติง
-ติง-ทั่ง
ตัวอย่างการกำกับจังหวะฉิ่งสองชั้นและกำกับจังหวะหน้าทับปรบไก่ ในเพลงแขก บรเทศ สองชั้น
ท่อนที่ ๑
จังหวะฉิ่ง
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
กลอง
-ทั่ง-ติง
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
-ติง–ทั่ง
-ติง-ติง
-ทั่ง-ติง
-ติง-ทั่ง
ทำนอง
- - - ซ
- ล ล ล
- - - ด
- ล ล ล
- ซ ซ ซ
- ล - ซ
- - - ม
- ม ม ม
ทำนอง
- ล ซ ม
- ร - ด
- - ม ร
ด ร - ม
- ซ - ล
- ซ - ม
- - - ร
- - - ด
ท่อนที่ ๒
จังหวะฉิ่ง
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
กลอง
-ทั่ง-ติง
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
-ติง–ทั่ง
-ติง-ติง
-ทั่ง-ติง
-ติง-ทั่ง
ทำนอง
- ด ร ม
ซ ม ร ด
- - - ซ
- - - ล
- - ด ล
ซม ซ ล
- - - ด
- - - ร
ทำนอง
- ล ซ ม
- ร - ด
- - ม ร
ด ร - ม
- ซ - ล
- ซ - ม
- - - ร
- - - ด
* ต่ำแน่งการบรรเลงของทุกเครื่องมือจะต้องเท่ากันทุกครั้ง เหมือนตารางโน้ตที่กำหนด จึงจะถือว่าการบรรเลงของวงดนตรีสมบูรณ์ในเรื่องการกำกับจังหวะ
ตัวอย่างการกำกับจังหวะฉิ่งสองชั้นและกำกับจังหวะหน้าทับสองไม้ลาว
ในเพลง ลาวดวงเดือน สองชั้นรอบที่ ๑
จังหวะฉิ่ง
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
กลอง
-ติง-โจ๊ะ
-ติง-ติง
- - ติงทั่ง
-ติง-ทั่ง
-ติง-โจ๊ะ
-ติง-ติง
- - ติงทั่ง
-ติง-ทั่ง
ทำนอง
- - - -
- - - -
- ด ร ม
- ซ– ด
- - - ร
- ด ด ด
ซลดล
ซ ม - ซ
ทำนอง
- - - ล
ซ ซ ซ ซ
- ม ซ ม
ซ ลด ล
- - ด ล
- ซ – ม
ร มซ ม
ร ด -ร
ทำนอง
- - - ม
ร ร ร ร
ซลซดํ
- ร – ม
- ซ - -
ซ ล ด ร
- ม ซ ร
ม ร ด ล
ทำนอง
- - - -
ซ ล ด ม
ร ด ร ม
- ซ– ล
- - ด ล
ซมซ ล
ซลดล
- ซ ซ ซ
ตัวอย่างการกำกับจังหวะฉิ่งสองชั้นและกำกับจังหวะหน้าทับปรบไก่สองชั้น
ในเพลง มอญรำดาบ สองชั้นท่อนที่ ๑ ทำนอง(ทาง) ระนาดเอก
จังหวะฉิ่ง
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
กลอง
-ทั่ง-ติง
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
-ติง–ทั่ง
-ติง-ติง
-ทั่ง-ติง
-ติง-ทั่ง
ทำนอง
- - - ด
ร ร ร ร
- - - ม
ร ร ร ร
- ด - ร
มรดล
- - -ซ
ดลซฟ
ทำนอง
รมฟซ
ลซฟม
รดรม
รมฟซ
รดมร
ดลซฟ
มรดร
มฟซล
ทำนอง
ซรมร
ซรมฟ
มรดร
มฟซล
ดมรด
มรดล
รดลซ
ดลซฟ
ทำนอง
- ซ –ซ
- - - ร
มรดร
- ม – ฟ
- ฟ ซ ล
- ซ – ฟ
- ล ซ ฟ
- ม - ร
----------------------------------------------------------------------------------
ประเภทของเครื่องดนตรีไทย
การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีนั้นย่อมจะแตกต่างกันไปได้ตามพื้นภูมิ และความนิยมของแต่ ละชาติ ส่วนการแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทยนั้นถือเอากิริยาที่บรรเลงให้เกิดเป็น เสียงขึ้น เป็นเครื่องแบ่งประเภท เช่น
๑ . เครื่องที่ดีดเป็นเสียง เป็นเครื่องที่มีสาย ใช้มือหรือวัตถุใดๆ ดีดที่สายแล้วเกิดเสียงขึ้นเช่นกระจับปี่ จะเข้ อย่างนี้เรียกว่า เครื่องดีด
๒ . เครื่องที่สี เป็นเสียง เป็นเครื่องที่มีสาย ใช้หางม้าหลายๆเส้นสีที่สายให้เกิดเสียง เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ อย่างนี้เรียกว่า เครื่องสี
๓ เครื่องที่ตีเป็นเสียง มีทั้งตีด้วยไม้ตี เช่นฆ้อง ระนาด กับตีด้วยมือ เช่น ตะโพน โทน หรือของสิ่งเดียวกันสองอันตีกันเอง เช่นกรับ และฉิ่ง เหล่านี้ เรียกว่า เครื่องตี
๔ . เครื่องที่เป่าเป็นเสียง เป็นเครื่องที่ต้องใช้ลมเป่าเข้าไปในเครื่องนั้นๆแล้วเกิดเสียง เช่น ปี่ ขลุ่ย อย่างนี้เรียกว่า เครื่องเป่า
รวมแล้วดนตรีไทย มี ๔ ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า
----------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ในการบรรเลง
การแบ่งประเภทดีด สี ตี เป่า นั้นเป็นการแบ่งประเภทของเครื่องดนตรี แต่เครื่องดนตรีนั้นๆ ย่อมมีหน้าที่ในการบรรเลงต่างกัน หลักสำคัญแบ่ง ได้ ๒ ประเภท
๑ บรรเลงทำนองเพลง เป็นพวกที่มีเสียงสูง เสียงต่ำ เรียงลำดับกันไม่น้อยกว่า ๗ เสียง เครื่องดนตรีเหล่านี้มีหน้าที่ บรรเลงเป็นทำนองเพลง เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ฆ้องวงเล็ก ปี่ ขลุ่ย และซอต่างๆ เป็นต้น
๒ . บรรเลงกำกับจังหวะ และประกอบจังหวะ
เป็นพวกที่มีเสียงสูงต่ำไม่ถึง ๗ เสียงเครื่องดนตรีเหล่านี้มีหน้าที่บรรเลงแตกต่างกันดังนี้
๒.๑ เครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง กำกับจังหวะหนักเบาของบทเพลง กลองกำกับจังหวะหน้าทับ(ตรวจสอบบทเพลงว่าขาดหรือเกิน)
๒.๒เครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ เกราะ โกร่ง โหม่ง มีหน้าที่เพิ่มอัถรสในการบรรเลง ให้สนุกและเพิ่มจังหวะของวงให้ชัดเจน มากขึ้น
ประวัิติ
ดนตรี ไทยมีกำเนิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งจากการสันนิษฐานของผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีและประวัติศาสตร์ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการกำเนิดหรือที่มาของดนตรีไทย ดังนี้

แนวคิดที่ 1
สันนิษฐานว่า ดนตรี ไทยได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจากอินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เหตุผลสำคัญที่สนับสนุนแนวคิดนี้ คือ ลักษณะของเครื่องดนตรีไทยได้จำแนกได้ใกล้เคียงกับลักษณะเครื่องดนตรีของ อินเดียตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ “สังคีตรัตนากร” บุคคลสำคัญที่เป็นผู้เสนอแนวทางนี้ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
แนวคิดที่ 2
สันนิษฐานว่า ดนตรี ไทยเกิดมาจากความคิดและสติปัญญาของคนไทยที่มีพร้อมกับคนไทยตั้งแต่สมัยที่ ยังอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนแล้ว สังเกตจากการที่เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทยจะมีชื่อเรียกเป็นคำโดด ซึ่งเป็นลักษณะของคำไทยแท้ เช่นฉิ่ง ฉาบ ปี่ เป็นต้น ต่อมาภายหลังจึงได้รับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมแบบอินเดีย มอญ เขมร และรับดนตรีบางอย่างของประเทศเพื่อนบ้านมาใช้เล่นในวงดนตรีไทยด้วย เช่น
- กลองแขก ปี่ชวา ของชวา (อินโดนีเซีย)
- เปิงมาง ปี่มอญ ตะโพนมอญและฆ้องมอญ
ของมอญ
- กลองยาว ของพม่า
นับ ตั้งแต่ไทยได้มาตั้งถิ่นฐานในแหลมอินโดจีนและได้ก่อตั้งอาณาจักรไทยขึ้น จึงถือเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์ไทย จากหลักฐานต่างๆ ที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้ถูกนำมาใช้อ้างอิงในเรื่องวิวัฒนาการของดนตรีไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นต้นมา ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
สมัยสุโขทัย
ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่นกันอย่างพื้นเมือง สันนิษฐานว่า วงดนตรีสมัยสุโขทัย น่าจะมีดังนี้
1. วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง 1 คน ทำหน้าที่ดีดพิณและขับร้องไปด้วย
2. วงขับไม้ มีผู้บรรเลง 3 คน
3. วงปี่พาทย์ เป็นลักษณะของวงปี่พาทย์เครื่องห้า มี 2 ชนิดคือ วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา
ใช้บรรเลงประกอบละครชาตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรี คือ ปี่ กลองชาตรี ทับ(โทน) ฆ้องคู่ ฉิ่ง
วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก ใช้บรรเลงประโคมในงานพิธีหรือการแสดงมหรสพต่างๆ ประกอบ
ด้วยเครื่องดนตรี คือ ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง
4. วงมโหรี เป็นการนำวงบรรเลงพิณผสมกับวงขับไม้ มีผู้บรรเลง 4 คน
สมัยกรุงศรีอยุธยา
วงดนตรีไทยในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นมากกว่าในสมัยสุโขทัย ดังนี้
1. วงปี่พาทย์ วงปี่พาทย์เครื่องห้ามีระนาดเอกเพิ่มขึ้นมา
2. วงมโหรี พัฒนาจากมโหรีเครื่องสี่เป็นวงมโหรีเครื่องหก โดยเพิ่มเครื่องดนตรี 2 ชิ้น คือ ขลุ่ย
และรำมะนา

สมัยกรุงธนบุรี
วงดนตรีในสมัยนี้ไม่ได้ปรากฏหลักฐานว่ามีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลง
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยนี้ศิลปวัฒนธรรมได้รับการฟื้นฟูและส่งเสริมขึ้น จึงได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงดนตรีให้เจริญขึ้นตามลำดับ ดังนี้
• สมัยรัชกาลที่ 1 มีลักษณะและรูปแบบตามที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่มีการพัฒนาบ้าง
คือ เพิ่มกลองทัด 1 ลูก ในวงปี่พาทย์
• สมัยรัชกาลที่ 2 ถือว่าเป็นยุคทองของดนตรีไทยยุดหนึ่ง การพัฒนาเปลี่ยนแปลงดนตรีไทย
ในยุดนี้ คือ การนำเอาวงปี่พาทย์มาบรรเลงประกอบการขับเสภาเป็นครั้งแรก และมี “กลองสอง
หน้า” เกิดขึ้น ใช้ตีกำกับจังหวะแทนตะโพนในวงปี่พาทย์
• สมัยรัชกาลที่ 3 มีการพัฒนาวงปี่พาทย์ให้เป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มมาคู่
กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่
• สมัยรัชกาลที่ 4 มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ โดยมีการประดิษฐ์
เครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก ในสมัยนี้มีการร้องเพลงส่งให้ดนตรีรับ
เรียกว่า “การร้องส่ง” เกิดขึ้น มีเพลงเถาและมีวงเครื่องสายเกิดขึ้น
• สมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ เรียกว่า “วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์” โดยเจ้าฟ้ากรม
พระยานริศรานุวัติวงศ์ ใช้บรรเลงประกอบการแสดง”ละครดึกดำบรรพ์”
• สมัยรัชกาลที่ 6 มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นใหม่โดยนำวงดนตรีของมอญมาผสมกับวงปี่พาทย์
ของไทย เรียกว่า “วงปี่พาทย์มอญ” โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) นอกจากนี้ยังมี
การนำเครื่องดนตรีต่างชาติเข้ามาบรรเลงผสมด้วย
• สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยทางด้านดนตรีไทย และ
ได้พระราชนิพนธ์เพลงไทยไว้ด้วย

แนวคิดที่ 1
สันนิษฐานว่า ดนตรี ไทยได้แบบอย่างมาจากอินเดีย เนื่องจากอินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เหตุผลสำคัญที่สนับสนุนแนวคิดนี้ คือ ลักษณะของเครื่องดนตรีไทยได้จำแนกได้ใกล้เคียงกับลักษณะเครื่องดนตรีของ อินเดียตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ “สังคีตรัตนากร” บุคคลสำคัญที่เป็นผู้เสนอแนวทางนี้ คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
แนวคิดที่ 2
สันนิษฐานว่า ดนตรี ไทยเกิดมาจากความคิดและสติปัญญาของคนไทยที่มีพร้อมกับคนไทยตั้งแต่สมัยที่ ยังอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนแล้ว สังเกตจากการที่เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทยจะมีชื่อเรียกเป็นคำโดด ซึ่งเป็นลักษณะของคำไทยแท้ เช่นฉิ่ง ฉาบ ปี่ เป็นต้น ต่อมาภายหลังจึงได้รับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมแบบอินเดีย มอญ เขมร และรับดนตรีบางอย่างของประเทศเพื่อนบ้านมาใช้เล่นในวงดนตรีไทยด้วย เช่น
- กลองแขก ปี่ชวา ของชวา (อินโดนีเซีย)
- เปิงมาง ปี่มอญ ตะโพนมอญและฆ้องมอญ
ของมอญ
- กลองยาว ของพม่า
นับ ตั้งแต่ไทยได้มาตั้งถิ่นฐานในแหลมอินโดจีนและได้ก่อตั้งอาณาจักรไทยขึ้น จึงถือเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์ไทย จากหลักฐานต่างๆ ที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้ถูกนำมาใช้อ้างอิงในเรื่องวิวัฒนาการของดนตรีไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นต้นมา ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
สมัยสุโขทัย
ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่นกันอย่างพื้นเมือง สันนิษฐานว่า วงดนตรีสมัยสุโขทัย น่าจะมีดังนี้
1. วงบรรเลงพิณ มีผู้บรรเลง 1 คน ทำหน้าที่ดีดพิณและขับร้องไปด้วย
2. วงขับไม้ มีผู้บรรเลง 3 คน
3. วงปี่พาทย์ เป็นลักษณะของวงปี่พาทย์เครื่องห้า มี 2 ชนิดคือ วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา
ใช้บรรเลงประกอบละครชาตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรี คือ ปี่ กลองชาตรี ทับ(โทน) ฆ้องคู่ ฉิ่ง
วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก ใช้บรรเลงประโคมในงานพิธีหรือการแสดงมหรสพต่างๆ ประกอบ
ด้วยเครื่องดนตรี คือ ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง
4. วงมโหรี เป็นการนำวงบรรเลงพิณผสมกับวงขับไม้ มีผู้บรรเลง 4 คน
สมัยกรุงศรีอยุธยา
วงดนตรีไทยในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นมากกว่าในสมัยสุโขทัย ดังนี้
1. วงปี่พาทย์ วงปี่พาทย์เครื่องห้ามีระนาดเอกเพิ่มขึ้นมา
2. วงมโหรี พัฒนาจากมโหรีเครื่องสี่เป็นวงมโหรีเครื่องหก โดยเพิ่มเครื่องดนตรี 2 ชิ้น คือ ขลุ่ย
และรำมะนา

สมัยกรุงธนบุรี
วงดนตรีในสมัยนี้ไม่ได้ปรากฏหลักฐานว่ามีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลง
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในสมัยนี้ศิลปวัฒนธรรมได้รับการฟื้นฟูและส่งเสริมขึ้น จึงได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงดนตรีให้เจริญขึ้นตามลำดับ ดังนี้
• สมัยรัชกาลที่ 1 มีลักษณะและรูปแบบตามที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่มีการพัฒนาบ้าง
คือ เพิ่มกลองทัด 1 ลูก ในวงปี่พาทย์
• สมัยรัชกาลที่ 2 ถือว่าเป็นยุคทองของดนตรีไทยยุดหนึ่ง การพัฒนาเปลี่ยนแปลงดนตรีไทย
ในยุดนี้ คือ การนำเอาวงปี่พาทย์มาบรรเลงประกอบการขับเสภาเป็นครั้งแรก และมี “กลองสอง
หน้า” เกิดขึ้น ใช้ตีกำกับจังหวะแทนตะโพนในวงปี่พาทย์
• สมัยรัชกาลที่ 3 มีการพัฒนาวงปี่พาทย์ให้เป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มมาคู่
กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่
• สมัยรัชกาลที่ 4 มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ โดยมีการประดิษฐ์
เครื่องดนตรี คือ ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก ในสมัยนี้มีการร้องเพลงส่งให้ดนตรีรับ
เรียกว่า “การร้องส่ง” เกิดขึ้น มีเพลงเถาและมีวงเครื่องสายเกิดขึ้น
• สมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ เรียกว่า “วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์” โดยเจ้าฟ้ากรม
พระยานริศรานุวัติวงศ์ ใช้บรรเลงประกอบการแสดง”ละครดึกดำบรรพ์”
• สมัยรัชกาลที่ 6 มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นใหม่โดยนำวงดนตรีของมอญมาผสมกับวงปี่พาทย์
ของไทย เรียกว่า “วงปี่พาทย์มอญ” โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) นอกจากนี้ยังมี
การนำเครื่องดนตรีต่างชาติเข้ามาบรรเลงผสมด้วย
• สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยทางด้านดนตรีไทย และ
ได้พระราชนิพนธ์เพลงไทยไว้ด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)