ตัวโน้ต
โน้ต ใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนดนตรี ใช้เป็นตัวกลางสื่อเสียงดนตรีให้มีความเข้าใจตรงกันระหว่างครูผู้สอนกับนัก เรียน และยังเป็นสัญลักษณ์ให้นักเรียน บันทึกบทเพลง เพื่อใช้เป็นการทบทวนด้วยตนเองได้
โน้ตตัวพยัญชนะ ที่ใช้เรียนดนตรีไทย มีสัญลักษณ์แทนเสียงดังนี้
ด แทนเสียง โด
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงโดสูง ดํ มีจุดข้างล่างหมายถึงโดเสียงต่ำ ดฺ
ร แทนเสียง เร
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงเรสูง รํ มีจุดข้างล่างหมายถึงโดเสียงต่ำ รฺ
ม แทนเสียง มี
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียง มีเสียงสูง มํ มีจุดข้างล่างหมายถึง มีเสียงต่ำ มฺ
ฟ แทนเสียง ฟา
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงฟาสูง ฟํ มีจุดข้างล่างหมายถึงฟา เสียงต่ำ ฟฺ
ซ แทนเสียง ซอล
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงซอล สูง ซํ มีจุดข้างล่างหมายถึงซอล เสียงต่ำ ซฺ
ล แทนเสียง ลา
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงลา สูง ลํ มีจุดข้างล่างหมายถึงลาเสียงต่ำ ลฺ
ท แทนเสียง ที
มีจุดข้างบนหมายถึงเสียงที สูง ทํ มีจุดข้างล่างหมายถึงที เสียงต่ำ ทฺ
ห้องเพลงที่ใช้บันทึก
๑ . หนึ่งบรรทัดมี แปด ห้องเพลง
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
๒. หนึ่งห้องเพลง มี สี่ตัวโน้ต (ขั้นพื้นฐาน)
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ๔
๓ . ใช้เส้นน้อยแทน ตัวโน้ตในห้อง
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
- - - -
* โน้ตใน ๑ ห้องเพลงสามารถมีมากกว่า ๔ ตัวโน้ตได้ เป็นการอ่านโน้ตในระดับสูงขึ้น *
เทคนิคการอ่านโน้ตของดนตรีไทย
๑ เคาะจังหวะสามัญ (จังหวะอย่างสม่ำเสมอ แบบ ช้า )
๒ ตัวโน้ตที่ ๔ ของห้องจะอ่านพร้อมจังหวะเคาะ
การอ่านโน้ตแบบต่างๆ
ตัวโน้ต จบพร้อมจังหวะ
- - - ดฺ
- - - รฺ
- - - มฺ
- - - ฟ
- - - ซ
- - - ล
- - - ทํ
- - - ดํ
แบบ ๑ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)
ดฺ - - -
รฺ - - -
มฺ - - -
ฟ - - -
ซ - - -
ล - - -
ทํ - - -
ดํ - - -
แบบ๒ ตัวโน้ต จบพร้อมจังหวะ
- ดฺ - ร
- ม - ฟ
- ซ - ล
- ท - ดํ
- ดํ - ท
- ล - ซ
- ฟ - ม
- ร - ดฺ
แบบ๒ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)
- ดฺ ร -
- ม ฟ -
- ซ ล -
- ท ดํ -
- ดํ ท -
- ล ซ -
- ฟ ม -
- ร ดฺ -
แบบ๒ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)
ดฺ ดฺ - -
ร ร - -
ม ม - -
ฟ ฟ - -
ซ ซ - -
ล ล - -
ท ท - -
ดํ ดํ - -
แบบ๒ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ
- - ดฺ ดฺ
- - ร ร
- - ม ม
- - ฟ ฟ
- - ซ ซ
- - ล ล
- - ท ท
- - ดํ ดํ
แบบ ๓ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ
- ดฺ ร ม
- ร ม ฟ
- ม ฟ ซ
- ฟ ซ ล
- ซ ล ท
- ล ท ดํ
- ท ดํ รํ
- ดํ รํ มํ
แบบ ๓ ตัวโน้ตจบก่อนจังหวะ (ลักจังหวะ)
มํ รํ ดํ -
รํ ดํ ท -
ดํ ท ล -
ท ล ซ -
ล ซ ฟ -
ซ ฟ ม -
ฟ ม ร -
ม ร ดฺ -
แบบ ๓ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ
ดฺ - ร ม
ร - ม ฟ
ม - ฟ ซ
ฟ – ซ ล
ซ - ล ท
ล - ท ดํ
ท - ดํ รํ
ดํ - รํ มํ
แบบ ๓ ตัวโน้ตจบพร้อมจังหวะ
มํ รํ - ดํ
รํ ดํ - ท
ดํ ท – ล
ท ล - ซ
ล ซ - ฟ
ซ ฟ - ม
ฟ ม - ร
ม ร - ดฺ
แบบ๔ ตัวโน้ต จบพร้อมจังหวะ
ดฺ ร ม ฟ
ซ ล ท ดํ
ดํ ท ล ซ
ฟ ม ร ดฺ
ดฺ ร ม ฟ
ซ ล ท ดํ
ดํ ท ล ซ
ฟ ม ร ดฺ
* การอ่านโน้ตนักเรียนจะต้องใช้เสียงที่อ่านให้มีระดับเสียงที่แตกต่างกัน ลดหลั่น หรือสูงขึ้น ไปตามเสียงโน้ตนั้น จะ ไม่อ่านโน้ตทุกตัวในระดับเสียงเดียวกัน
----------------------------------------------------------------------------------
จังหวะในเพลงไทยเดิม แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑ .จังหวะสามัญ หมายถึง จังหวะอย่างสม่ำเสมอที่จะต้องยึดถือเป็นหลักในการขับร้องและบรรเลง แม้ว่าจะ ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องให้สัญญาณจังหวะ ก็จะต้องมีจังหวะอยู่ในความรู้สึกตลอดเวลา
๒.จังหวะ ฉิ่ง ใช้พื้นฐานเดียวกับจังหวะสามัญ เป็นการแบ่งจังหวะด้วยฉิ่ง โดยปกติจะตีสลับกัน เป็น ฉิ่ง - ฉับ แต่ใช้เสียงฉิ่งกำหนดเสียงแทนการเคาะหรือตบมือ เพื่อให้ทราบว่ากำลังบรรเลงในอัตราจังหวะ สามชั้น สองชั้น หรือชั้นเดียว
๓.จังหวะหน้าทับ หมายถึงการตีกลองควบคุมจังหวะ วิธีการกำกับจังหวะหน้าทับคือ เราใช้จำนวนห้องโน้ตหรือ จำนวนบรรทัดของโน้ตหน้าทับ เป็นเกณฑ์ในการกำกับและนับจังหวะทำนองเพลง
จังหวะฉิ่ง
ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีใช้สำหรับกำกับจังหวะ เบาและหนัก ของบทเพลง มี ๓ อัตราจังหวะ
๑.จังหวะสามชั้น ( จังหวะช้า)
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ฉับ
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ๔
๑ ๒ ๓ ฉับ
๒.จังหวะสองชั้น (จังหวะปานกลาง)
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ฉับ
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ฉับ
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ฉับ
๑ ๒ ๓ ฉิ่ง
๑ ๒ ๓ ฉับ
๓.จังหวะชั้นเดียว (จังหวะเร็ว)
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
๑ฉิ่ง๓ฉับ
จังหวะหน้าทับ (กลองแขก – โทนรำมะนา) ที่นักเรียนใช้กำกับจังหวะบทเพลงต่างๆ ในหลักสูตรวิชาดนตรีไทย โรงเรียนอำนวยศิลป์
สองไม้ลาว สองชั้น
- ติง – โจ๊ะ
- ติง - ติง
- - ติงทั่ง
- ติง - ทัง
สองไม้ไทย (ทยอย สองชั้น)
- - โจ๊ะจ๊ะ
ติงติง - ติง
- - โจ๊ะจ๊ะ
ติงติง - ทั่ง
หน้าทับสำเนียงฝรั่ง
- ติงติงติง
- ติง -ทั่ง
- ติง -ทั่ง
- ติง -ทั่ง
ปรบไก่สองชั้น
-ทั่ง - ติง
-โจ๊ะ-จ๊ะ
-โจ๊ะ-จ๊ะ
-โจ๊ะ-จ๊ะ
-ติง–ทั่ง
-ติง-ติง
-ทั่ง-ติง
-ติง-ทั่ง
ตัวอย่างการกำกับจังหวะฉิ่งสองชั้นและกำกับจังหวะหน้าทับปรบไก่ ในเพลงแขก บรเทศ สองชั้น
ท่อนที่ ๑
จังหวะฉิ่ง
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
กลอง
-ทั่ง-ติง
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
-ติง–ทั่ง
-ติง-ติง
-ทั่ง-ติง
-ติง-ทั่ง
ทำนอง
- - - ซ
- ล ล ล
- - - ด
- ล ล ล
- ซ ซ ซ
- ล - ซ
- - - ม
- ม ม ม
ทำนอง
- ล ซ ม
- ร - ด
- - ม ร
ด ร - ม
- ซ - ล
- ซ - ม
- - - ร
- - - ด
ท่อนที่ ๒
จังหวะฉิ่ง
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
กลอง
-ทั่ง-ติง
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
-ติง–ทั่ง
-ติง-ติง
-ทั่ง-ติง
-ติง-ทั่ง
ทำนอง
- ด ร ม
ซ ม ร ด
- - - ซ
- - - ล
- - ด ล
ซม ซ ล
- - - ด
- - - ร
ทำนอง
- ล ซ ม
- ร - ด
- - ม ร
ด ร - ม
- ซ - ล
- ซ - ม
- - - ร
- - - ด
* ต่ำแน่งการบรรเลงของทุกเครื่องมือจะต้องเท่ากันทุกครั้ง เหมือนตารางโน้ตที่กำหนด จึงจะถือว่าการบรรเลงของวงดนตรีสมบูรณ์ในเรื่องการกำกับจังหวะ
ตัวอย่างการกำกับจังหวะฉิ่งสองชั้นและกำกับจังหวะหน้าทับสองไม้ลาว
ในเพลง ลาวดวงเดือน สองชั้นรอบที่ ๑
จังหวะฉิ่ง
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
กลอง
-ติง-โจ๊ะ
-ติง-ติง
- - ติงทั่ง
-ติง-ทั่ง
-ติง-โจ๊ะ
-ติง-ติง
- - ติงทั่ง
-ติง-ทั่ง
ทำนอง
- - - -
- - - -
- ด ร ม
- ซ– ด
- - - ร
- ด ด ด
ซลดล
ซ ม - ซ
ทำนอง
- - - ล
ซ ซ ซ ซ
- ม ซ ม
ซ ลด ล
- - ด ล
- ซ – ม
ร มซ ม
ร ด -ร
ทำนอง
- - - ม
ร ร ร ร
ซลซดํ
- ร – ม
- ซ - -
ซ ล ด ร
- ม ซ ร
ม ร ด ล
ทำนอง
- - - -
ซ ล ด ม
ร ด ร ม
- ซ– ล
- - ด ล
ซมซ ล
ซลดล
- ซ ซ ซ
ตัวอย่างการกำกับจังหวะฉิ่งสองชั้นและกำกับจังหวะหน้าทับปรบไก่สองชั้น
ในเพลง มอญรำดาบ สองชั้นท่อนที่ ๑ ทำนอง(ทาง) ระนาดเอก
จังหวะฉิ่ง
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
- - - ฉิ่ง
- - - ฉับ
กลอง
-ทั่ง-ติง
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
- โจ๊ะ-จ๊ะ
-ติง–ทั่ง
-ติง-ติง
-ทั่ง-ติง
-ติง-ทั่ง
ทำนอง
- - - ด
ร ร ร ร
- - - ม
ร ร ร ร
- ด - ร
มรดล
- - -ซ
ดลซฟ
ทำนอง
รมฟซ
ลซฟม
รดรม
รมฟซ
รดมร
ดลซฟ
มรดร
มฟซล
ทำนอง
ซรมร
ซรมฟ
มรดร
มฟซล
ดมรด
มรดล
รดลซ
ดลซฟ
ทำนอง
- ซ –ซ
- - - ร
มรดร
- ม – ฟ
- ฟ ซ ล
- ซ – ฟ
- ล ซ ฟ
- ม - ร
----------------------------------------------------------------------------------
ประเภทของเครื่องดนตรีไทย
การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีนั้นย่อมจะแตกต่างกันไปได้ตามพื้นภูมิ และความนิยมของแต่ ละชาติ ส่วนการแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทยนั้นถือเอากิริยาที่บรรเลงให้เกิดเป็น เสียงขึ้น เป็นเครื่องแบ่งประเภท เช่น
๑ . เครื่องที่ดีดเป็นเสียง เป็นเครื่องที่มีสาย ใช้มือหรือวัตถุใดๆ ดีดที่สายแล้วเกิดเสียงขึ้นเช่นกระจับปี่ จะเข้ อย่างนี้เรียกว่า เครื่องดีด
๒ . เครื่องที่สี เป็นเสียง เป็นเครื่องที่มีสาย ใช้หางม้าหลายๆเส้นสีที่สายให้เกิดเสียง เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ อย่างนี้เรียกว่า เครื่องสี
๓ เครื่องที่ตีเป็นเสียง มีทั้งตีด้วยไม้ตี เช่นฆ้อง ระนาด กับตีด้วยมือ เช่น ตะโพน โทน หรือของสิ่งเดียวกันสองอันตีกันเอง เช่นกรับ และฉิ่ง เหล่านี้ เรียกว่า เครื่องตี
๔ . เครื่องที่เป่าเป็นเสียง เป็นเครื่องที่ต้องใช้ลมเป่าเข้าไปในเครื่องนั้นๆแล้วเกิดเสียง เช่น ปี่ ขลุ่ย อย่างนี้เรียกว่า เครื่องเป่า
รวมแล้วดนตรีไทย มี ๔ ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า
----------------------------------------------------------------------------------
หน้าที่ในการบรรเลง
การแบ่งประเภทดีด สี ตี เป่า นั้นเป็นการแบ่งประเภทของเครื่องดนตรี แต่เครื่องดนตรีนั้นๆ ย่อมมีหน้าที่ในการบรรเลงต่างกัน หลักสำคัญแบ่ง ได้ ๒ ประเภท
๑ บรรเลงทำนองเพลง เป็นพวกที่มีเสียงสูง เสียงต่ำ เรียงลำดับกันไม่น้อยกว่า ๗ เสียง เครื่องดนตรีเหล่านี้มีหน้าที่ บรรเลงเป็นทำนองเพลง เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ฆ้องวงเล็ก ปี่ ขลุ่ย และซอต่างๆ เป็นต้น
๒ . บรรเลงกำกับจังหวะ และประกอบจังหวะ
เป็นพวกที่มีเสียงสูงต่ำไม่ถึง ๗ เสียงเครื่องดนตรีเหล่านี้มีหน้าที่บรรเลงแตกต่างกันดังนี้
๒.๑ เครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง กำกับจังหวะหนักเบาของบทเพลง กลองกำกับจังหวะหน้าทับ(ตรวจสอบบทเพลงว่าขาดหรือเกิน)
๒.๒เครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ เกราะ โกร่ง โหม่ง มีหน้าที่เพิ่มอัถรสในการบรรเลง ให้สนุกและเพิ่มจังหวะของวงให้ชัดเจน มากขึ้น
Thai Musical Menu
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น