rss
Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites

Thai Musical Menu

Slideshow

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หลักการฟัง

1. หลักการฟังและวิเคราะห์เสียงดนตรี
เสียงดนตรี คือ เสียงการขับร้องและเสียงการบรรเลงเครื่องดนตรีซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
1. เสียงทำนองเพลง คือ เสียงหลักของบทเพลง
2. เสียงประสาน คือ เสียงที่บรรเลงหรือขับร้องผสมผสานกับเสียงหลัก
3. เสียงจังหวะประกอบ คือ เสียงบรรเลงโดยใช้เครื่องดนตรีประกอบจังหวะเพื่อใช้กำกับจังหวะให้เป็นไปตามรูปแบบที่ต้องการ
หลักการฟังดนตรี
การฟังดนตรีของคนส่วนใหญ่ มักฟังเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินหรือฟังเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ ในบางครั้งอาจไม่ได้รับรู้ถึงความไพเราะของเพลงซึ่งถ้ามีหลักในการฟังที่ดี จะทำให้ได้รับรู้ถึงความไพเราะของเพลงได้มากขึ้น
หลักการฟังดนตรีมี 2 ประการ คือ
1. ฟังอย่างตั้งใจ เป็นการฟังเพื่อจำแนกเสียงดนตรีว่าเสียงที่ได้ยินนั้น เป็นทำนองของเพลงใด ใช้ทำนองใดเป็นหลัก มีแนวการประสานเสียงอย่างไร และจังหวะเป็นรูปแบบใด รวมทั้งแยกแยะและบอกชนิดเครื่องดนตรีที่บรรเลงได้
2. ฟังอย่างเข้าใจ เป็นการฟังโดยศึกษาองค์ประกอบของเสียงดนตรีหรือบทเพลงที่ฟัง คือ จังหวะ ทำนอง การประสานเสียง และรูปแบบของเพลงให้พิจารณาว่าองค์ประกอบครบถ้วนหรือมีความสัมพันธ์สอดคล้อง กันอย่างไรบ้าง
2. การรับรู้เรื่ององค์ประกอบและความไพเราะของดนตรี
การฟังเสียงดนตรีตามหลักการฟังนั้น นักเรียนจำเป็นต้องรับรู้ถึงองค์ประกอบของดนตรีและความไพเราะของดนตรีและบทเพลง ดังนี้
1. องค์ประกอบของดนตรี บทเพลงหรือเสียงดนตรีจะต้องมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1. จังหวะ คือ ความช้า-เร็วของบทเพลง
2. ทำนอง คือ เสียงสูง-ต่ำ ที่ถูกเรียบเรียงให้อยู่แนวระดับต่าง ๆ
3. การประสานเสียง คือ การขับร้องและบรรเลงดนตรีพร้อม ๆ กัน หรือการขับร้องเป็นหมู่คณะ
4. รูปแบบของบทเพลง คือ โครงสร้างของบทเพลงที่ออกแบบตามจังหวะและทำนองของเพลง
2. ความไพเราะของเสียงดนตรีและบทเพลง
ความไพเราะเป็นความรู้สึกที่มีต่อการฟังเพลงของแต่ละคน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่จะบ่งบอกว่า เพลงที่ฟังนั้นมีความไพเราะหรือไม่ เช่น ประสบการณ์ของผู้ฟัง ความรู้เกี่ยวกับบทเพลงของผู้ฟัง เป็นต้น
1. ความไพเราะของเสียงดนตรี เป็นความไพเราะของเสียงการขับร้อง และเสียงการบรรเลงดนตรีโดยใช้ทำนองหลัก เสียงขับร้อง เสียงของเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประสานเสียง และส่วนประกอบอื่น ๆ
2. ความไพเราะของบทเพลง เป็นความไพเราะตามประเภทของบทเพลง เช่น เพลงไทย เพลงลูกทุ่ง เพลงไทยสากล เพลงร็อก เป็นต้น


ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สีมหาศาล และคณะ. ศิลปะ ป.3. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น