rss
Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites

Thai Musical Menu

Slideshow

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วงดนตรีไทย

เครื่อง ดนตรีหรือเครื่อง ดีด สี ตี เป่า ของไทยที่นิยมเล่นกันมาแต่โบราณนั้น บางชนิดใช้บรรเลงเดี่ยว (คือบรรเลงคนเดียว) เช่น ซอและขลุ่ย และอีกหลายประเภทมีการประสมเป็นวงอยู่แล้ว แต่ยังไม่มี หลักเกณฑ์ที่ ลงตัว ต่อมาการประสมวงมีการพัฒนาขึ้น หลักสำคัญอยู่ที่การเลือกประเภทเครื่องดนตรี และเสียงของเครื่อง ดนตรีแต่ละชิ้น ให้มีเสียงประสานกลมกลืนกันให้เกิดเป็นเสียงดนตรีที่ไพเราะการประสมวงของ ดนตรีไทยมีดังต่อไปนี้
๑ วงเครื่องสาย หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก โดยมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องกำกับจังหวะเป็นส่วนประกอบ
ประเภทของวงเครื่องสาย
๑. วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว (ใช้งานมงคล)
๒.วงเครื่องสายเครื่องคู่ (ใช้งานมงคล)
๓.วงเครื่องสายผสม (ผสมเครื่องดนตรีชาติอื่น) (ใช้งานมงคล)
๔.วงเครื่องสายปี่ชวา (ใช้งานอวมงคล)

วงเครื่องสายที่ใช้ในงานมงคล
๑ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว



* กำหนดให้ซอด้วงอยู่ฝั่งขวามือเป็นหลัก (กรณีตั้งวงจริง)ส่วนเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ จัดตำแหน่งตามรูป *
(ย้อนกลับ)
๒ วงเครื่องสายเครื่องคู่




วงเครื่องสายเครื่องคู่ เพลงสุรินทราหูสามชั้น
วง เครื่องสาย ใช้ในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน ทำบุญบ้าน ทำบุญครบรอบวันเกิด งานเลี้ยงรับรอง งานมงคลต่างๆที่เน้นฟังไพเราะ เบาๆ ไม่เสียงดังใช้ พื้นที่ตั้งวงไม่กว้าง(งานภายในบ้าน) ต้องเลือกชนิดวงเครื่องสายให้เหมาะสมกับพื้นที่จัดงาน (ย้อนกลับ)

๓.วงเครื่องสายผสม (ผสมเครื่องดนตรีชาติอื่น)
ตั้งแต่ ในรัชกาลที่ ๖ มา เมื่อมีผู้นำขิมบ้าง ไวโอลินบ้าง ออร์แกน และเครื่องอื่นๆ บ้าง เข้าเล่นผสมวง จึงเรียกกันว่าเครื่องสายผสมขิม เครื่องสายผสมไวโอลิน เครื่องสายผสมออร์แกน และเมื่อผสมเครื่องดนตรีหลายอย่าง ก็เรียกกันกว้างๆว่า "วงเครื่องสายผสม"

เครื่องสายผสมขิม
วงเครื่องสายผสมขิมเพลง ลาวสวยรวย สามชั้น

(ย้อนกลับ)
วงเครื่องสายที่ใช้ในงานอวมงคล

๔ วงเครื่องสายปี่ชวา

เครื่องสายปี่ชวาเกิดขึ้นในราวปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นวงดนตรีไทยที่เกิดจากการผสมเครื่องดนตรีของวงดนตรีไทย ๒ประเภทเข้าด้วยกัน คือ วงเครื่องสายและวงปี่ชวากลองแขก แล้วตัดเครื่องดนตรีที่เสียงซ้ำกันออก คือ ขลุ่ยเพียงออ และโทนรำมะนาในวงเครื่องสาย เครื่องประกอบจังหวะเหลือเพียงชุดเดียว ดังนั้นวงเครื่องสายปี่ชวาจึงประกอบด้วย ปี่ชวา ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขลุ่ยหลิบ กลองแขก และฉิ่ง
เนื่องจากปี่ชวามีช่วงเสียงที่สูงไปกว่าเครื่องสาย เพลงที่บรรเลงด้วยวงเครื่องสายปี่ชวาจะมีระดับเสียงเฉพาะของตนเอง คือ สูงกว่าระดับเสียงเพลงของวงเครื่องสาย ๔ เสียง ดังนั้นซอด้วงจึงต้องขึ้นสายใหม่ให้เทียบได้กับเสียงของปี่ชวา เครื่องดนตรีอื่นๆ ก็ต้องเปลี่ยนระดับเสียงให้ขึ้นไปเท่ากับเสียงของปี่ชวานอกจากระดับเสียงที่ เป็นเอกลักษณ์แล้ว เพลงที่บรรเลงด้วยวงเครื่องสายปี่ชวาก็เป็นเพลงเฉพาะของวงประเภทนี้เท่านั้น เช่นเพลงโหมโรงราโค ซึ่งตอนท้ายเพลงออกเพลงสระหม่า นอกจากนี้แต่ละเพลงมักมีจังหวะที่รวดเร็วตามลักษณะการบรรเลงของปี่ชวา นักดนตรีคนอื่นๆ ก็ต้องสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีของตนได้อย่างรวดเร็วหรือในวงการดนตรีไทย เรียกว่า “ ไหว ” ปัจจุบันหานักดนตรีที่บรรเลงเพลงได้ในวงเครื่องสายปี่ชวายากเต็มที เนื่องจากสาเหตุสำคัญคือ ” ไม่ได้เพลงที่ใช้บรรเลง”

วงเครื่องสายปี่ชวาเครื่องเดี่ยว
วงเครื่องสายปี่ชวาเครื่องเดี่ยว
วงเครื่องสายปี่ชวา เพลงโหมโรงราโค

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น